Page 39 - longan
P. 39

3-1




                                                         บทที่ 3

                                       การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน



                  3.1  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ
                        การประเมินคุณภาพที่ดิน (qualitative land evaluations) เป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วยทรัพยากร
                  ที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน การประเมินคุณภาพที่ดิน

                  ในหลักการของ FAO framework สามารถท าได้ 2 รูปแบบ
                          รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการประเมิน
                  เชิงกายภาพว่าที่ดินนั้น ๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ

                          รูปแบบที่สอง การประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูป
                  ผลผลิตที่ได้รับ จ านวนเงินในการลงทุน และจ านวนเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ
                        ในที่นี้กล่าวถึงเฉพาะการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเท่านั้น ซึ่งการประเมินคุณภาพที่ดิน
                  ด้านกายภาพ จะน าประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Utilization Type: LUT) มาประเมิน
                  ว่าคุณภาพที่ดินของแต่ละหน่วยที่ดิน (Land Unit: LU) เหมาะสมต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  รูปแบบใดบ้าง โดยความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirement: LUR)
                  แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
                            1) ความต้องการด้านพืช (crop requirements) เป็นความต้องการปัจจัยที่มีผลต่อ

                  การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพที่ดิน ดังนี้ ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์
                  ต่อพืช ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร ความจุในการ
                  ดูดยึดธาตุอาหาร สภาพการหยั่งลึกของราก ความเสียหายจากน้ าท่วม การมีเกลือมากเกินไป และสารพิษ
                            2) ความต้องการด้านการจัดการ (management requirements) เป็นความต้องการ

                  ที่เกษตรกรต้องการด้านเครื่องจักร เครื่องกล ที่ต้องใช้ในการเตรียมดิน การเขตกรรม ความต้องการ
                  ด้านนี้ประกอบด้วยคุณภาพที่ดินเดียว คือ ศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล
                            3) ความต้องการด้านการอนุรักษ์ (conservation requirements) เป็นความต้องการ
                  เพื่อให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ท าลายคุณภาพของที่ดิน หรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อันเนื่องมาจาก

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น ความต้องการด้านนี้ประกอบด้วยคุณภาพที่ดินเดียว คือ ความเสียหาย
                  จากการกัดกร่อน

                           3.1.1 ความต้องการปัจจัยส าหรับพืช
                             เป็นการวิเคราะห์จาก คุณภาพที่ดิน (Land Quality: LQ) คือ สมบัติของหน่วยที่ดินที่มี
                  อิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (land

                  characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช มีคุณลักษณะ
                  ที่ดินที่เป็นตัวแทนตัวเดียว คือ สภาพการระบายน้ าของดิน ส่วนความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร มี
                  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนสองตัว คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange
                  Capacity: CEC) และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง (Base Saturation: BS) โดยคุณภาพที่ดินที่

                  น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชล าไย ได้แก่





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44