Page 11 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว 2566
P. 11

บทที่ 1

                                                         บทนำ



                  1.1  หลักการและเหตุผล
                        มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อน
                  ใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ มะพร้าว

                  ในประเทศไทยเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง โดยลักษณะของมะพร้าวต้นสูงจะใช้เนื้อ
                  จากผลแก่ไปประกอบอาหาร หรือเพื่อทำมะพร้าวแห้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช ส่วนมะพร้าวต้นเตี้ย
                  จะมีผลขนาดเล็ก น้ำมีรสหวาน และมีกลิ่นหอม เมื่อผลแก่มีเนื้อบางและน้อย แต่ปัจจุบันมะพร้าว

                  น้ำหอมนิยมใช้ในการบริโภคสดและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบใน
                  อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
                        การผลิตมะพร้าวของโลก ในปี 2564 อยู่ที่ 63.68 ล้านตัน ซึ่งประเทศที่ผลิตมากที่สุด คือ
                  ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ตามลำดับ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับ 10 ของโลก
                  การผลิตมะพร้าวของประเทศไทย ในปี 2565 มีเนื้อที่ให้ผล 822,693 ไร่ และผลผลิต 819 ผลต่อไร่ ซึ่งมี

                  เนื้อที่ให้ผลและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564
                        สถานการณ์การค้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวของประเทศไทย ในปี 2565 พบว่า มีความ
                  ต้องการใช้มะพร้าวแก่ในประเทศกว่า 1.17 ล้านตัน โดยได้มีการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าว

                  อาทิ มะพร้าวแก่ 142,274 ตัน  กะทิสำเร็จรูป 41,994 ตัน  และมะพร้าวเป็นฝอย 8,845 ตัน เป็นต้น
                  ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 4,925 ล้านบาท ในส่วนของการส่งออกสามารถสร้างมูลค่าได้รวม 22,358 ล้านบาท
                  อย่างเช่น มะพร้าวอ่อน 557,357 ตัน  กะทิสำเร็จรูป 147,420 ตัน  และมะพร้าวแก 9,400 ตัน เป็นต้น
                                                                                       ่
                            ู่
                  ซึ่งประเทศคค้าที่สำคัญ สำหรับมะพร้าวแก่ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย และเวียดนาม  มะพร้าวเป็นฝอย
                  ได้แก่ ประเทศปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา  และกะทิสำเร็จรูป ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
                  ออสเตรเลีย และแคนาดา  ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย และเวียดนาม
                        จากนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความสมดุล
                  ระหว่างอุปทานและอุปสงค์ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการประมาณการผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออก

                  สู่ตลาดตามช่วงฤดูกาลต่าง ๆ และเฝ้าระวังเพื่อหามาตรการรองรับได้ทันท่วงที ตลอดจนเพื่อสนับสนุน
                  การผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้จัดทำเขตการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจมะพร้าวขึ้น ซึ่งการกำหนดบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ให้ความสำคัญกับลักษณะทาง
                  กายภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้นำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป


                  1.2  วัตถุประสงค์

                        เพื่อกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินที่เหมาะสม มีศักยภาพ ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม

                  1.3  ขอบเขตการดำเนินงาน

                        1.3.1 ระยะเวลาดำเนินงาน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566
                        1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                      กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16