Page 61 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้
P. 61

3-27






                        3.3.3 ร่าง )    ) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 )พ.ศ. 2655-2570)

                            (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13  มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้
                  สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ก าหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ  โดยมุ่งหวังให้

                  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ท าหน้าที่เป็นกลไกในการชี้ประเด็นที่มีล าดับความส าคัญสูง
                  ต่อการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี  และเพื่อผลักดันให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ เพื่อ

                  ขับเคลื่อนสู่ความเจริญเติบโตที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน  โดย  (ร่าง) แผนพัฒนา

                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ได้ก าหนดทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนาบนพื้นฐานของ
                  แนวคิดที่ส าคัญ 4 ประการ ได้แก่

                            (1) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสืบสาน รักษาต่อยอดการพัฒนาตามหลัก
                  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเฉพาะหลักพอประมาณและมีเหตุผลด้วยการก าหนดทิศทางการ

                  พัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ ฐานทางทรัพยากร และฐานทางวัฒนธรรมของของพื้นที่ และการสร้าง

                  ความสมดุลในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็น
                  ธรรม  ควบคู่กับการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี  โดยการปรับเปลี่ยนองคาพยพในมิติต่างๆ ให้เท่าทันและ

                  สอดคล้องกับพลวัตและบริบทใหม่ของโลก  และการสร้างความสมดุลระหว่างความสามารถใน
                  การแข่งขันกับต่างประเทศกับความสามารถในการพึ่งตนเอง

                            (2) แนวคิด Resilience     ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดความเปราะบางต่อความ

                  เปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ  การสร้างความพร้อมของประเทศในการรับมือและ
                  ปรับตัวให้อยู่  รอดได้ในสภาวะวิกฤติ  พร้อมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์ประโยชน์จากการ

                  เปลี่ยนแปลง หรือการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เพื่อสร้างการเติบโตที่มีคุณภาพและยั่งยืน

                            (3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ  โดยการมุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
                  ที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งในมิติของการมีปัจจัยที่จ าเป็นส าหรับการด ารงชีวิตขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ

                  การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การมีปัจจัยสนับสนุนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  การมี
                  โอกาสที่จะใช้ศักยภาพของตนในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีรวมถึงการมุ่งส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป

                            (4) โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 รูปแบบควบคู่กัน ได้แก่
                  เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว  โดยอาศัยฐานศักยภาพและความเข้มแข็ง

                  ของประเทศอันประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมพร้อมกับ
                  การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

                  เพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน  และสามารถกระจายรายได้  โอกาส

                  และความมั่งคั่งได้อย่างทั่วถึง









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66