Page 16 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้
P. 16

2-4






                          2) ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จะมีช่วงฝนทิ้งช่วง

                  ประมาณปลายเดือนมิถุนายน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือบางปีนาน 1 เดือน และเดือนกรกฎาคม

                  เป็นต้นไปจะมีฝนตกต่อเนื่อง ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝนตกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและฝนตกหนักมาก
                  โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก การเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนดได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

                          3) ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือน

                  ตุลาคมนาน 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน
                  อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไป

                  ซึ่งจะหมดฝนและเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                        ลมมรสุม ประเทศไทยตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2  ชนิด ได้แก่

                  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะพัดปกคุลมประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

                  น ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทยท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะ
                  อย่างยิ่งบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น และ ลมมรสุม

                  ตะวันออกเฉียงเหนือ จะพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือน
                  ตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ท าให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะ

                  ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก

                  เนื่องจากมรสุมนี้น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิด
                  อาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี


                  2.3  ทรัพยากรที่ดิน

                        ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความส าคัญ ซึ่งจ าเป็นต่อการท าเกษตรกรรมและการด ารงชีพ

                  ของมนุษย์ ดินเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ต่างๆ มารวมตัวหรือทับถมแล้วผสมคลุกเคล้ากับ

                  อินทรียวัตถุตามกระบวนการเกิดดินต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณ
                  และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ชนิดของวัตถุต้นก าเนิด และระยะเวลาของการเกิดดิน ซึ่งความแตกต่างกันของสภาพแวดล้อม

                  หรือปัจจัยที่กล่าวมาแล้วนั้น จะส่งผลให้ดินในแต่ละพื้นที่มีลักษณะของดิน และความเหมาะสมในการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน

                      กองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน (2564) ได้พิจารณาจัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มี

                  ศักยภาพคล้ายคลึงกัน ในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก ออกเป็น 62 กลุ่ม
                  ชุดดิน โดยแบ่งตามสภาพพื้นที่พบได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางที่ 2-1

                        1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง พบทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 - 25

                  และกลุ่มชุดดินที่ 57 - 59









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21