Page 94 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 94

4-14





                          -  ส่งเสริม และให้ความรู้แก่ชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และ

                  ตอบสนองความต้องการของตลาด
                          -  สร้างอัตลักษณ์ของขมิ้นชันไทย โดยเน้นด้านคุณภาพ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งใน และ
                  ต่างประเทศ

                          -  ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานสารสกัด เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง แต่อย่างไรก็ตามยัง
                  มีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานของสารสกัดซึ่งยังไม่ได้มาตรฐาน
                        3. มาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                          -  การพัฒนาแหล่งน้ า เพื่อให้มีน้ าไว้ใช้ในช่วงที่ฝนแล้งหรือฝนขาดช่วง เนื่องจากขมิ้นชันเป็นพืช
                  ที่มีความต้องการน้ าต่อเนื่อง

                        4. มาตรการด้านนโยบาย และกฎหมาย
                          -  สนับสนุนกลุ่มผู้ปลูกและผู้แปรรูปสมุนไพร

                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้แปรรูปสมุนไพร เพื่อประสานข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์
                          -  ปรับปรุงกฎหมายด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นชัน เนื่องจากยังมีอุปสรรคทางการค้า
                  เช่น ความยุ่งยากในการขึ้นทะเบียน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ใบอนุญาตจัดจ าหน่าย เป็นต้น

                          -  ส่งเสริมให้มีการใช้ยาสมุนไพรส าหรับรักษาโรคให้มากขึ้น จากปริมาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
                  โดยเฉพาะการในโรงพยาบาลของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทย


                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ
                        4.4.1 สรุป

                  สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินได้ 3 เขต ดังนี้
                            1. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชันที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) มีเนื้อที่ 1,053,959 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 13.92 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เลย
                  นครปฐม พิษณุโลก โดยมีแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรในเขตนี้ ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุน

                  การผลิต การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การมุ่งเน้นและ
                  ส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการปลูกและการเก็บเกี่ยวสมุนไพรตามมาตรฐานที่ก าหนด
                            2.  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชันที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) มีเนื้อที่ 3,972,015 ไร่

                  คิดเป็นร้อยละ 52.46 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมปานกลาง ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                  กาญจนบุรี พิษณุโลก อุทัยธานี โดยแนวทางการพัฒนาเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชันในเขตนี้ ได้แก่
                  การพัฒนาแหล่งน้ า การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรและการให้ความรู้แก่เกษตรกร การปรับปรุง
                  บ ารุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การส่งเสริมให้เกษตรกรท าเกษตรแบบผสมผสาน
                            3  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชันที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) มีเนื้อที่ 2,546,038 ไร่

                  หรือร้อยละ 33.62  โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมน้อย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิษณุโลก
                  ตาก อุทัยธานี มีแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรได้แก่  การมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                       กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98