Page 93 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 93

4-13





                  4.3  มาตรการในการจัดการที่ดิน

                        1. มาตรการด้านการผลิต
                          -  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ปลูกขมิ้นชัน

                  และจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สามารถน าไปประกอบการด าเนินงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจขมิ้นชันในอนาคต
                          -  ส่งเสริมแนวทางในการปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ในการให้ผลผลิต เนื่องจาก
                  ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องน าเข้าขมิ้นชันจากต่างประเทศ โดยน าเข้าจากประเทศเมียนมา และประเทศ
                  อินเดียมากที่สุดในรูปแบบของขมิ้นชันแห้ง  เมื่อมีการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ดินแน่นทึบ ความ

                  อุดมสมบูรณ์ลดลง ซึ่งท าให้ผลผลิตลดลง ดังนั้นต้องมีการใช้ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน
                  ควรส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายใน
                  การลงทุนของเกษตรกรในระยะยาว
                          -  ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรมีการปฏิบัติและดูแลการผลิตตามระบบเกษตรที่ดี

                  และเหมาะสม ท าการผลิตแบบเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ เช่น GAP/GACP, เกษตรอินทรีย์ หรือ
                  ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อให้ได้ขมิ้นชันที่มีคุณภาพ และราคาสูง
                          -  ส่งเสริมให้มีการใช้พื้นที่หลากหลายโดยการท าเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่
                  เกษตรกร โดยท าการปลูกพืชแบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ปลูกขมิ้นชัน โดยปลูกร่วมกับพืชอื่นซึ่งเป็นพืชที่

                  สามารถเกื้อกูลกันได้ เช่น ข้าวโพด พริก แตง ผักชี หรือพืชตระกูลถั่ว ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถน าไปขายสร้าง
                  รายได้ และบริโภคในครัวเรือน  หรือการปลูกพืชสลับแปลง เพื่อลดปัญหาเชื้อรา
                          -  จัดท าทะเบียนและเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชันให้เป็นปัจจุบัน และจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่โดยใช้
                  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการด าเนินการวางแผนพัฒนาพื้นที่ส าหรับการผลิต

                  ขมิ้นชัน และการส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน
                          -  ส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกขมิ้นชันโดยใช้พันธุ์ที่ให้สารเคอร์คูมินอยด์สูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของ
                  ตลาด และได้ราคาผลผลิตที่สูงขึ้น
                          -  รวบรวมองค์ความรู้ของเกษตรกรที่ประสบความส าเร็จในการปลูกขมิ้นชัน และมีการถ่ายทอด

                  องค์ความรู้ไปยังเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ
                          -  พัฒนาพื้นที่เมืองสมุนไพรให้เป็นแหล่งปลูก รวบรวม และพัฒนาสมุนไพรที่มีคุณภาพ
                          -  ก าหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกขมิ้นชัน เมื่อเกษตรกรต้องการปรับเปลี่ยนการใช้

                  ที่ดินจากพืชเศรษฐกิจชนิดเดิมไปเป็นพืชชนิดใหม่
                          -  ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรไทยโดยใช้ตลาดน าการผลิต โดยเน้นการปลูกแบบมีพันธะสัญญา
                  (Contract farming)
                        2. มาตรการด้านการตลาด
                          -  ส่งเสริมและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของไทยเป็นที่

                  ยอมรับในด้านคุณภาพและความหลากหลายของสินค้า








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                       กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98