Page 17 - Plan GI
P. 17

บทที่ 2

                                                      ขอมูลทั่วไป

                  2.1   สภาพภูมิประเทศ
                        ขอมูลขอบเขตพื้นที่การผลิตพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ที่อยูในประกาศของกรมทรัพยสินทางปญญา

                  กระทรวงพาณิชย ขอมูลสภาพการใชที่ดินจากกองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
                  และขอมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEM) จากสำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่ กรมพัฒนาที่ดิน
                  ถูกนำมาใชในการศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่ปลูกพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร ซึ่งพืชแตละชนิดมีลักษณะ

                  ที่แตกตางกันในแตละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้
                             1)  ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

                               ลักษณะภูมิประเทศในขอบเขตพื้นที่การผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษตามประกาศฯ
                  ครอบคลุมพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ในพื้นที่
                  อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษ เปนที่ราบสูงดินสีแดงอุดมสมบูรณ ทางทิศใตและทิศตะวันออก

                  เปนภูเขาสูงลาดต่ำลงมาทางทิศเหนือ ซึ่งเปนพื้นที่ราบเชิงเขา เหมาะสำหรับการปลูกพืชไรและพืชสวน
                  สวนพื้นที่อำเภอศรีรัตนะเปนพื้นที่ราบลุม สภาพพื้นที่เหมาะแกการทำนาและการปลูกพืชผัก บริเวณทิศใต
                  เปนพื้นที่สูงเหมาะแกการปลูกไมผลไมยืนตน ลักษณะภูมิประเทศสวนใหญเปนพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด
                  เล็กนอย คิดเปนรอยละ 34.23 รองลงมาคือ พื้นที่ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด
                  พื้นที่ลาดชันเชิงซอน พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพื้นที่เนินเขา คิดเปนรอยละ 30.14 14.59 5.33 4.64

                  และ 1.04 ของพื้นที่ตามลำดับ สวนพื้นที่น้ำ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสราง และพื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่นๆ
                  คิดเปนรอยละ 2.71 5.05 และ 2.27 ของพื้นที่ตามลำดับ (รูปที่ 2-1)

                             2)  หอมแดงศรีสะเกษและกระเทียมศรีสะเกษ
                               ลักษณะภูมิประเทศในขอบเขตพื้นที่การผลิตหอมแดงศรีสะเกษและกระเทียม

                  ศรีสะเกษตามประกาศฯ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมนอย
                  อำเภอกันทรารมย อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอวังหิน และอำเภอพยุห จังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะภูมิประเทศ
                  สวนใหญมีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ คิดเปนรอยละ 69.68 และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอย
                  คิดเปนรอยละ 19.96 ของพื้นที่ สวนพื้นที่น้ำ และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสราง คิดเปนรอยละ 3.87

                  และ 6.49 ของพื้นที่ (รูปที่ 2-2)

                             3)  สับปะรดทาอุเทน
                               ลักษณะภูมิประเทศในขอบเขตพื้นที่การผลิตสับปะรดทาอุเทนตามประกาศ ครอบคลุม
                  พื้นที่อำเภอทาอุเทน และอำเภอโพนสวรรค จังหวัดนครพนม พื้นที่บริเวณดังกลาวมีฝนตกกระจาย
                  สม่ำเสมอ เนื่องจากไดรับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตที่พัดปกคลุม อิทธิพลจากปาไมและ

                  เทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลักษณะภูมิประเทศสวนใหญเปนพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด
                  เล็กนอย คิดเปนรอยละ 53.76 รองลงมาคือ พื้นที่ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด
                  คิดเปนรอยละ 29.21 และ 5.91 ของพื้นที่ตามลำดับ สวนพื้นที่น้ำ และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสราง
                  คิดเปนรอยละ 6.78 และ 4.34 ของพื้นที่ (รูปที่ 2-3)







                  แผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย          กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22