Page 95 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 95

2-67





                             4) สับปะรดภูแลเชียงราย

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกสับปะรดภูแลเชียงราย พื้นที่ต าบลนางแล ต าบลท่าสุด
                  และต าบลบ้านดู่ อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขา
                  เนินเขา และภูเขาสูง มีแนวเขาอยู่ในด้านทิศตะวันตก มีความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลางโดยเฉลี่ย

                  400 เมตร สภาพพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่มีความลาดเอียง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชัน
                  เชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 38.56 รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด
                  พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน พื้นที่เนินเขา และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 36.45 13.09
                  6.07 2.16 และ 2.06 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-4)
                             5) ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกลิ้นจี่แม่ใจพะเยา พื้นที่อ าเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
                  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นต้นก าเนิดของแม่น้ าหลายสายที่ไหลไปรวม
                  กันลงสู่กว๊านพะเยา ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็น

                  ร้อยละ 40.44 รองลงมาคือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
                  พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และ พื้นที่เนินเขา คิดเป็นร้อยละ 33.93 9.77 9.20 0.93 และ 0.72 ของพื้นที่
                  ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-5)
                             6) สับปะรดห้วยมุ่น

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น พื้นที่ต าบลห้วยมุ่น และต าบลบ้านไผ่
                  อ าเภอน้ าปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ติดชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีเทือกเขา
                  หลวงพระบางเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างไทย-ลาว ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชัน
                  เชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 82.81 รองลงมาคือพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่น

                  ลอนลาดเล็กน้อย และพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 7.10 6.63 2.77 และ 0.32
                  ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-6)
                             7) มะขามหวานเพชรบูรณ์
                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกมะขามหวานเพชรบูรณ์ พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็น

                  พื้นที่คล้ายแอ่งกระทะ มีแม่น้ าป่าสักไหลผ่านจากทางทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ของจังหวัด ลักษณะภูมิประเทศ
                  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 44.77 รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้าง
                  ราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพื้นที่เนินเขา

                  คิดเป็นร้อยละ 27.11 15.57 5.83 3.54 และ 1.73 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-7)
                             8) ข้าวก่้าล้านนา
                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกข้าวก่ าล้านนา ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได่แก่
                  จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ล าพูน ล าปาง แพร่ น่าน และ แม่ฮ่องสอน พื้นที่จังหวัดในบริเวณดังกล่าวมี
                  ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเนินเขาสลับกับแอ่งน้ าแคบๆ พื้นที่ปลูกข้าวจึงมีความ

                  หลากหลาย พบพื้นที่ปลูกข้าวทั้งในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่บนไหล่เขา ในลักษณะข้าวนาสวนและข้าวไร่
                  ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 70.36 รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบ
                  ถึงค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และ

                  พื้นที่เนินเขา คิดเป็นร้อยละ 10.65 6.33 5.06 3.51 และ 2.01 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-8)
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100