Page 133 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 133

2-105





                             5)  สับปะรดท่าอุเทน

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกสับปะรดท่าอุเทน ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอท่าอุเทน
                  และอ าเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีฝนตกกระจายสม่ าเสมอ เนื่องจากได้รับ

                  อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม อิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐ
                  ประชาธิปไตยประชาชนลาว ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย คิดเป็น
                  ร้อยละ 55.34 รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด คิดเป็นร้อยละ
                  31.69 และ 6.19 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-35)

                             6)  ลิ้นจี่นครพนม

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกลิ้นจี่นครพนม ครอบคลุมพื้นที่ต าบลขามเฒ่า อ าเภอ
                  เมืองนครพนม จังหวัดนครพนม พื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตตอนใต้ทางฝั่งทิศตะวันออก พื้นที่
                  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมฝั่งแม่น้ าโขง และมีพื้นที่ดอนบางส่วน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่
                  ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 50.36 และรองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ

                  คิดเป็นร้อยละ 43.96 ของพื้นที่ (รูปที่ 2.5-36)
                             7) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
                  มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ มีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นลูกคลื่นสลับกัน จากระดับน้ าทะเล 200 เมตร
                  มีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ในบางอ าเภอซึ่งอยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร

                  ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็น
                  ร้อยละ 74.08 ของพื้นที่ และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 21.50 ของพื้นที่ (รูปที่ 2.5-37)

                             8) ส้มโอทองดีบ้านแท่น
                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกส้มโอทองดีบ้านแท่น ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอบ้านแท่น

                  จังหวัดชัยภูมิ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 64.39
                  รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน และพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด คิดเป็น
                  ร้อยละ 22.98 7.83 และ 1.01 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-38)
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138