Page 42 - โครงการปรับเปลี่ยน
P. 42

4-2





                  การผลิต มูลค่าผลผลิตและผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้น เนื่องจากก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรทำการ

                  ผลิตข้าวนาปีเพียงครั้งเดียวตลอดปีการผลิต ใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียวในการทำการผลิต อีกทั้งสภาพทาง
                  กายภาพของดินเป็นพื้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก จึงปล่อยให้
                  พื้นที่นาว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินในฤดูแล้ง เมื่อเข้าร่วมโครงการฯ เกษตรกรได้รับการสนับสนุน

                  วัสดุปรับปรุงดิน จัดสร้างแหล่งน้ำในไร่นา และการปรับรูปแปลงนาในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสม
                  และสามารถทำการผลิตได้ จึงทำให้เกษตรกรสามารถทำการผลิตได้ตลอดทั้งปี การทำเกษตรผสมผสาน
                  ดังกล่าวแม้จะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีการใช้ปัจจัยในการผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ส่งผลให้มี
                  รายได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับการประเมินอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) ก่อนและ
                  หลังเข้าร่วมโครงการฯ เท่ากับ 1.91 และ 2.06 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วหลังเข้าร่วมโครงการ

                  มีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นแสดงว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน
                                ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบข้อมูลการผลิตต่อพื้นที่ของเกษตรกรก่อนและหลังเข้าร่วม
                  โครงการ (ต้นทุนการผลิตต่อไร่ มูลค่าผลผลิตต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ และประเมินอัตราส่วนรายได้

                  ต่อต้นทุน) แสดงให้เห็นว่าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยน
                  การผลิตจากเดิมนาข้าว เปลี่ยนเป็นนาข้าวร่วมกับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ส่งผลให้การผลิต
                  ทางการเกษตรของเกษตรกรมีผลิตภาพ (Productivity) มีความคุ้มค่าในการลงทุน และประสิทธิภาพ
                  การผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น
                             3) ผลการประเมินโครงการ (ตารางที่ 4-1)

                                เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 82 ราย มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 จำนวน 72 ราย
                  หรือร้อยละ 87.80 ของจำนวนเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง โดยมีรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย
                  20,716.06 บาทต่อครัวเรือน และมีรายได้สุทธิหลังเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 70,961.17 บาทต่อครัวเรือน

                  ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50,245.11 บาทต่อครัวเรือน จึงถือว่าผลการดำเนินงานของโครงการได้สำเร็จเกินกว่า
                  เป้าหมายของโครงการ
                  ตารางที่ 4-1 สรุปการประเมินผลโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปี 2565
                                                                            ผลการประเมินโครงการ
                                       รายการ
                                                                                คน            ร้อยละ
                   เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ                                     82           100.00

                   เกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10.00           72            87.80
                   รายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน)         20,716.06              -
                   รายได้สุทธิหลังเข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน)         70,961.17              -
                   ที่มา: จากการคำนวณ (2565) กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                             ด้านความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการ 5 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจ
                  ต่อการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนเฉลี่ย 4.31 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ความพึงพอใจ

                  ในคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 4.15 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ความพึงพอใจต่อ
                  การดำเนินงานโครงการในภาพรวมเฉลี่ย 4.44 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และประโยชน์ที่ได้รับ
                  จากการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 4.37 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47