Page 41 - โครงการปรับเปลี่ยน
P. 41

บทที่ 4


                                          สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ


                               การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต
                  ในพื้นที่ไม่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร และวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน
                  สำหรับพืชเศรษฐกิจที่ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสานของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต

                  ในพื้นที่ไม่เหมาะสมปี 2563 ซึ่งได้ทำการศึกษา และรวบรวมข้อมูลการผลิต จำนวน 82 ราย ในพื้นที่
                  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 และเขต 9 แล้วดำเนินการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลของเกษตรกร
                  ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จากนั้นนำรายได้สุทธิก่อนและหลังมาประเมินผล ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้
                  ดังนี้

                  4.1  ผลการศึกษา

                             1) ข้อมูลทั่วไป
                                เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 54 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 51.25

                  และมีสถานภาพทางสังคมเป็นเกษตรกรทั่วไปร้อยละ 88.10 ของเกษตรกรทั้งหมด เกษตรกร
                  มีพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 12.20 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่มีหนังสือสำคัญในที่ดินเป็น ส.ป.ก.4-01
                  เฉลี่ย 6.41 ไร่ต่อครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.55 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เกษตรกร

                  มีการกู้ยืมเงินถึงร้อยละ 73.81 โดยมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                  (ธ.ก.ส.) มากที่สุดร้อยละ 74.19 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.95 ต่อปี

                                เกษตรกรมีสถานภาพทางการเงินในครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี คือ มีรายได้ในครัวเรือน
                  220,579.44 บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 167,916.12 บาทต่อปี และเกษตรกรมีเงินคงเหลือเพื่อใช้

                  จ่ายในครัวเรือน 52,663.32 บาทต่อปี สำหรับสถานภาพการทำงานของครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการ
                  เกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.23 คนต่อครัวเรือน (แรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.18

                  คนต่อครัวเรือน) และหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.33 คนต่อครัวเรือน
                  (แรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.30 คนต่อครัวเรือน) โดยหลังเข้าร่วมโครงการสมาชิกในครัวเรือนและ
                  แรงงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลง


                             2) ต้นทุนและผลตอบแทน
                                2.1) จากสภาพการผลิตและการกระจายผลผลิตก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีเนื้อที่
                  เพาะปลูก 12.20 ไร่ต่อครัวเรือน และหลังเข้าร่วมโครงการฯ  มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.30 ไร่ต่อครัวเรือน
                  มีการกระจายผลผลิต โดยแบ่งออกเป็นการบริโภคและหรือแลกเปลี่ยนร้อยละ 48.38 และจำหน่าย

                  ร้อยละ 51.62
                                2.2) การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ
                  เกษตรกรมีมูลค่าผลผลิต 3,570.87 บาท มีต้นทุนการผลิต 1,872.83 บาท และผลตอบแทนสุทธิ

                  1,698.04 บาทและหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีมูลค่าผลผลิต 12,186.68 บาท มีต้นทุนการผลิต
                  5,906.93 บาทและผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 6,279.75 บาท โดยหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีต้นทุน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46