Page 97 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 97

4-15






                  4.2  ข้อเสนอแนะ

                            1) จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ยสูง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่
                  50 ปี ถึง 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในเกษตรกรกลุ่มนี้อาจท าให้การเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ
                  เป็นไปได้ยาก แต่หากพิจารณาข้อดีเกษตรกรกลุ่มนี้มีประสบการณ์การท าการเกษตรในพื้นที่
                  มาเป็นเวลานาน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรเชื่อมโยง

                  เกษตรกรที่มีประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่และผนวกเข้ากับการใช้
                  เทคโนโลยีใหม่ ๆ น าไปสู่แนวทาง Smart farmer โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้ค าแนะน า
                            2) จากผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบรายย่อยมีพื้นที่

                  เพาะปลูกข้าวนาปีขนาดเล็กต่างคนต่างผลิตซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเผชิญกับปัญหาและข้อจ ากัดต่าง ๆ
                  เช่น ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตตลอดกระบวนการผลิตสูง ปัญหาด้านการขาดอ านาจต่อรอง การจัดการ
                  ห่วงโซ่อุปทาน การเชื่อมโยงตลาดระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการ รวมถึงปัญหาด้านการถ่ายทอด
                  องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ยังไม่เข้าถึงเกษตรกรเท่าที่ควร หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุน

                  ให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่สร้างเครือข่ายการผลิตร่วมกันแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อสามารถ
                  เข้าไปสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง เพิ่มอ านาจการต่อรอง
                  ให้แก่เกษตรกร และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตตลอดกระบวนการผลิต
                  เป็นไปตามทฤษฎีการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) ตามหลักเศรษฐศาสตร์การผลิต

                            3) จากผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการผลิตคือ ปัญหา
                  ราคาผลผลิตตกต่ า ปัญหาปัจจัยการผลิตราคาสูง และปัญหาการขาดแคลนน้ าเพื่อการเกษตร หน่วยงาน
                  ภาครัฐควรสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น การสนับสนุนโรงอบเมล็ดข้าว
                  ชุมชน เพื่อให้ผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวมีความชื้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมและได้ราคาที่สูงขึ้น เป็นต้น รวมถึง

                  ส่งเสริมและแนะน าการใช้เทคโนโลยีวางแผนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถควบคุมต้นทุน และใช้
                  ปัจจัยการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้แอปพลิเคชั่น Agri-Map Mobile ตรวจสอบลักษณะ
                  ดินในแปลงเกษตรที่ท าการผลิต เพื่อให้ทราบว่าควรปรับปรุงบ ารุงดินหรือบ ารุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ย

                  ในปริมาณที่เหมาะสมกับคุณลักษณะดิน เป็นการใช้ปัจจัยการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและ
                  ลดต้นทุนการผลิตที่ไม่จ าเป็น เป็นต้น
                            4) จากผลการศึกษาพบว่า การผลิตข้าวหอมมะลินาปีและข้าวเหนียวนาปี ในพื้นที่ดินที่มี
                  ชั้นความเหมาะสมทางกายภาพเล็กน้อย (S3) มีผลตอบแทนสุทธิขาดทุนและผลของอัตราส่วนรายได้
                  ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) แสดงถึงความไม่คุ้มค่าในการลงทุน หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและ

                  แนะน าเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยพิจารณาจากข้อมูล
                  เขตความเหมาะสมพืชเศรษฐกิจ (Zoning) 13 ชนิด ของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และเป็นการลดอุปทานข้าวในตลาดเพื่อช่วยให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102