Page 68 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 68

3-18





                  ผลตอบแทนต่อหน่วย 1.97 บาทต่อกิโลกรัม กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 3.92 บาทต่อกิโลกรัม ระดับผลผลิต

                  คุ้มทุน 286.00 กิโลกรัมต่อไร่ และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.28


                    ตารางที่ 3-10 ผลตอบแทนการผลิตพืชเศรษฐกิจข้าวหอมมะลิ ปีการเพาะปลูก 2564/65
                                                            พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพ
                              รายการ             หน่วย                                         เฉลี่ย
                                                           สูง (S1)   ปานกลาง (S2)  เล็กน้อย (S3)
                    1. ปริมาณผลผลิต              กก./ไร่   737.33       554.49       385.56    573.27
                    2. ราคาผลผลิต               บาท/กก.      9.06         9.06         9.06      9.06
                    3. มูลค่าผลผลิต              บาท/ไร่   6,680.21   5,023.68     3,493.17   5,193.83
                    4. ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด    บาท/ไร่   4,054.34   2,548.29    619.40   2,637.63
                    5. ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร    บาท/ไร่   3,397.48   2,190.85    540.44   2,249.68
                    6. ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด    บาท/ไร่   2,298.44   1,053.62   -532.03   1,128.55
                    7. ผลตอบแทนต่อหน่วย         บาท/กก.      3.12         1.90        -1.38      1.97
                    8. กำไรส่วนเกินต่อหน่วย     บาท/กก.      4.61         3.95         1.40      3.92
                    9. ระดับผลผลิตคุ้มทุน        กก./ไร่   238.40       287.91       766.05    286.00
                    10. อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio)   1.52   1.27      0.87      1.28
                    ที่มา: จากการคำนวณ (2565) กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                  3.3 ข้าวเจ้า
                             1) สภาพการผลิต (ตารางที่ 3-11)

                                 (1) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)
                                  เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยว
                  เฉลี่ย 8.43 ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีปักดำทั้งหมด อายุพืชเฉลี่ย 3.81 เดือน โดยเริ่มทำการผลิต
                  เดือนมิถุนายนร้อยละ 71.42 เดือนพฤษภาคมและเดือนกรกฎาคมร้อยละ 14.29 เท่ากัน เก็บเกี่ยว

                  เดือนตุลาคมร้อยละ 85.71 และเดือนพฤศจิกายนร้อยละ 14.29 แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้
                  น้ำฝนเพียงอย่างเดียวร้อยละ 14.29 และเป็นการใช้น้ำฝนร่วมกับแหล่งน้ำอื่นร้อยละ 85.71 แหล่งน้ำอื่น
                  ที่ใช้ร่วมกับน้ำฝนคือ ชลประทาน
                                 (2) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพปานกลาง (S2)

                                  เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยว
                  เฉลี่ย 11.50 ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด อายุพืชเฉลี่ย 3.67 เดือน
                  โดยทั้งหมดเริ่มทำการผลิตเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด

                  เป็นการใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว
                               (3) เฉลี่ย
                                  เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยว
                  เฉลี่ย 9.11 ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 22.22 และปักดำร้อยละ 77.78
                  อายุพืชเฉลี่ย 3.78 เดือน โดยเริ่มทำการผลิตเดือนมิถุนายนร้อยละ 77.78 เดือนพฤษภาคม

                  และเดือนกรกฎาคมร้อยละ 11.11 เท่ากัน เก็บเกี่ยวเดือนตุลาคมร้อยละ 66.67 และเดือนพฤศจิกายน
                  ร้อยละ 33.33 แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียวร้อยละ 33.33 และเป็นการใช้น้ำฝน
                  ร่วมกับแหล่งน้ำอื่นร้อยละ 66.67 แหล่งน้ำอื่นที่ใช้ร่วมกับน้ำฝนคือ ชลประทาน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73