Page 11 - กำหนดเขตที่ดินทำกิน โครงการพัฒนาที่ดินบนพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง
P. 11

1





                                                                                               บทนํา


                                        ฐานขอมูลและการกําหนดขอบเขตที่ดินทํากินและวางแผนการใชที่ดิน

                             พื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินบนพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง (ขยายผลโครงการหลวง)



                      หลักการและเหตุผล
                        พ.ศ.2512  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ
                      ตั้งมูลนิธิโครงการหลวง ทรงมีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาชีวิตความเปนอยูของชาวไทยภูเขา  ลดการปลูกพืช
                      เสพติด  และฟนฟูสภาพปาตนน้ําลําธาร  โครงการหลวงไดดําเนินงานวิจัยและพัฒนาอยางตอเนื่อง
                      ผลงานวิจัยดังกลาวไดนําไปถายทอดแกชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครงการหลวงทั้งหมด 38 แหงในพื้นที่ 5
                      จังหวัดภาคเหนือตอนบน สงผลใหชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครงการหลวงมีชีวิตและความเปนอยูที่ดีขึ้น เมื่อ
                      เปรียบเทียบกับชาวไทยภูเขาในพื้นที่สูงสวนใหญ  อยางไรก็ตามการพัฒนาพื้นที่สูงมิใชถูกจํากัดใหมีแค

                      พื้นที่โครงการหลวงเทานั้น จําเปนตองขยายขอบเขตใหครอบคลุมพื้นที่สูงสวนอื่นๆ ที่ยังไมไดรับการ
                      พัฒนา จึงไดมีการนําผลสําเร็จของโครงการหลวงไปพัฒนาในพื้นที่สูงอื่นๆ ซึ่งเรียกโครงการนี้วา
                      “โครงการขยายผลโครงการหลวง”
                        โครงการขยายผลโครงการหลวง มียุทธศาสตรมุงขยายผลความสําเร็จของโครงการหลวงไป
                      สูชุมชนบนพื้นที่สูงของประเทศ เพื่อแกปญหาในระดับพื้นที่ตามยุทธศาสตรของจังหวัดและชุมชนโดย
                      นําองคความรูและตนแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนจากโครงการหลวงไปปรับใช เพื่อกอใหเกิดการสราง
                      เศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ใหมีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคมทองถิ่นและ

                      สภาพแวดลอม การฟนฟูทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณของดินและปองกันการชะลางพังทลาย
                      ของหนาดินบนพื้นที่สูง ตลอดจนการเสริมสรางกระบวนการมีสวนรวมของชุมชนและการพัฒนาองคกร
                      ของชุมชนใหเขมแข็ง เพื่อเปนกลไกการพัฒนาในอนาคต
                        การนําองคความรูและผลสําเร็จของโครงการหลวง เพื่อนําไปใชในการพัฒนาพื้นที่สูงบริเวณอื่นๆ
                      จําเปนตองทราบถึงขอมูลพื้นฐาน  สภาพปญหา  ความตองการของชุมชน ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ
                      และสิ่งแวดลอมของพื้นที่ ดังนั้นการจัดทําฐานขอมูลเพื่อกําหนดขอบเขตการใชที่ดินทํากินและ
                      รางแผนการใชที่ดิน ซึ่งเปนผลที่ไดจากการศึกษาและวิเคราะหสถานภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
                      ดานทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ํา ทรัพยากรปาไม ลักษณะการใชประโยชนที่ดิน รวมกับขอกฎหมาย
                      ที่เกี่ยวของภายในพื้นที่และนโยบายของรัฐที่เกี่ยวของกับการใชพื้นที่ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมการมีสวนรวม

                      ของชุมชนและภาครัฐ พิจารณาจัดทํารางแผนการใชที่ดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยคํานึงถึง
                      การใชที่ดินตามศักยภาพของพื้นที่อยางยั่งยืน เพื่อการรักษาดุลยภาพของลักษณะทางนิเวศวิทยาและ
                      การอนุรักษธรรมชาติเปนหลัก ซึ่งจะเปนขอมูลพื้นฐานที่สําคัญสําหรับเจาหนาที่ของหนวยงานราชการ
                      องคกรตางๆ ที่รวมปฏิบัติงานแบบบูรณาการในพื้นที่ สามารถนําไปใชเปนกรอบในการพิจารณากําหนด
                      แผนงานการพัฒนาพื้นที่ ไดอยางมีประสิทธิภาพ ถูกตองเหมาะสมสอดคลองกับสภาพพื้นที่ ซึ่งจะทําให
                      เกิดการนําองคความรูและตนแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนจากโครงการหลวงสูการพัฒนาพื้นที่สูงบริเวณอื่นๆ
                      ประสบผลสําเร็จตามเปาหมายที่ตั้งไว
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16