Page 39 - กำหนดเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง สพข.9
P. 39
ผ-7
2.4 ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 4
มาตรการในการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ํานี้จะมีความเข้มงวดน้อยกว่าพื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 3
ซึ่งมีข้อกําหนดไว้ดังนี้
1) การใช้พื้นที่ทําเหมืองแร่ และกิจการอื่นๆ ให้อนุญาตได้ตามปกติ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบ
ของราชการอย่างเคร่งครัด
2) การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในชั้นคุณภาพลุ่มน้ํานี้พึงปฏิบัติดังนี้
- ในบริเวณที่มีความลาดชันร้อยละ 18-25 (เทียบโดยระยะ 100 เมตรมีความสูงต่างระดับกัน
18-25 เมตร) และมีดินลึกน้อยกว่า 50 เซนติเมตร สมควรใช้เป็นพื้นที่ป่าและไม้ผล โดยมีการวางแผน
ตามมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ํา
- บริเวณที่มีความลาดชันระหว่างร้อยละ 6-18 ควรใช้เพาะปลูกพืชไร่นา โดยมีมาตรการ
อนุรักษ์ดินและน้ํา
2.5 ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 5
มาตรการในการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ํานี้จะมีความเข้มงวดน้อยที่สุด และมีข้อกําหนด
น้อยมากดังนี้
1) การใช้ที่ดินเพื่อกิจการเหมืองแร่ การเกษตร ทําได้โดยปกติ
2) การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรในชั้นคุณภาพลุ่มน้ํานี้จะต้องปฏิบัติดังนี้
- ในบริเวณที่มีหน้าดินลึกน้อยกว่า 50 เซนติเมตร ควรเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ป่าเอกชน ไม้ผล
ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือสถานที่สําหรับพักผ่อนหย่อนใจ
- บริเวณที่หน้าดินมีความลึกเกินกว่า 50 เซนติเมตร ควรใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวและพืชไร่
ป่าเอกชน ไม้ผล ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- ในกรณีที่จะใช้ที่ดินในชั้นคุณภาพนี้เพื่อการอุตสาหกรรมควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ ซึ่งมีศักยภาพ
ทางการเกษตรสูง
จากข้อกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ําชั้นคุณภาพต่างๆ สรุปสาระสําคัญได้คือ การใช้ประโยชน์
พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 และพื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญที่ต้องสงวนรักษาไว้เป็น
พิเศษ เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน้ําลําธารและเป็นพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ ไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อใช้
ทําการเกษตร สําหรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 3 4 และพื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 5 นั้น ให้ใช้ทํา
การเกษตรได้แต่ต้องมีมาตรการตามข้อกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ํา ได้แก่ มาตรการด้านการ
อนุรักษ์ดินและน้ํา และการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นต้น ข้อกําหนดต่างๆ จึงมีมาตรการที่
เข้มงวดแตกต่างกัน เพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน และให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืนต่อไป