Page 50 - กำหนดเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง สพข.6
P. 50

ผ-4






                  1. การกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา

                    การกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา นอกจากจะกําหนดขอบเขตความเหมาะสมของพื้นที่เป็นหลักและใช้
                  ลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นฐานแล้ว ยังมีการศึกษาข้อมูลด้านอื่นๆ เพิ่มเติมจากข้อมูลเบื้องต้นที่
                  เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ซึ่งได้แก่ ปริมาณน้ํา  ป่าไม้  ดิน ตะกอน  ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม มาใช้

                  พิจารณาร่วมเพื่อช่วยให้การกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ําสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  จากหลักเกณฑ์ทั้ง 6 ประการ
                  เมื่อนํามาพิจารณากับสภาพพื้นที่แต่ละแห่งของประเทศไทย สามารถจําแนกได้ 5 ระดับชั้นคุณภาพ โดย
                  ให้ความสําคัญเรียงลําดับกันไป เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยควบคุมระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละ

                  ชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา ซึ่งแต่ละชั้นคุณภาพมีลักษณะพื้นฐานดังนี้
                    1.1   พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 หมายถึง พื้นที่มีสภาพเป็นต้นน้ําลําธารเป็นแหล่งน้ําฝนและให้น้ํากับพื้นที่

                  ตอนล่าง พื้นที่ตอนบนมักมีความชันมาก ลักษณะดินที่ง่ายต่อการพังทลายเป็นพื้นที่ซึ่งควรรักษาไว้เพื่อ
                  เป็นต้นน้ําลําธารโดยเฉพาะ อาจจะรักษาในรูปของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ ซึ่งในส่วนของ
                  พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 ยังแยกเป็นชั้นย่อยได้อีก 2 ระดับ โดยใช้ “สภาพป่า” เป็นตัวกําหนดคือ “พื้นที่ลุ่มน้ํา
                  ชั้น 1 เอ” จะมีสภาพป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ตามที่ปรากฏอยู่ในปี พ.ศ. 2525 และเป็นพื้นที่ที่จะต้องสงวน

                  รักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ําลําธาร และเป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ในขณะที่“พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1 บี”
                  จะมีสภาพป่าส่วนใหญ่ถูกทําลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อนหน้า
                  ปี พ.ศ. 2525 และการใช้ที่ดินรูปแบบต่างๆ ที่ดําเนินการไปแล้วจะต้องมีมาตรการควบคุมเป็นพิเศษ
                    1.2   พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 2 หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ําที่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าป้องกัน ป่าเพื่อการค้าหรือ

                  ป่าเศรษฐกิจ ปกติเป็นพื้นที่บนที่สูง มีความลาดชันสูงมาก ดินมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะกันสูงกว่า
                  พื้นที่ลุ่มน้ําชั้นคุณภาพที่ 1 ลักษณะทั่วไปเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ําลําธารในระดับรองลงมา ควรสงวนเก็บ
                  ไว้เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ําลําธาร รักษาไว้ในรูปแบบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ
                  และอาจสามารถอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เพื่อทํากิจการสําคัญบางอย่างได้ เช่น การทําเหมืองแร่

                    1.3   พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 3 หมายถึง สภาพลุ่มน้ําที่มีสภาพเป็นเชิงเขา ความลาดชันสูง ดินมีลักษณะ

                  การพังทลายปานกลาง พื้นที่เหมาะสมเป็นป่าเศรษฐกิจ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผลยืนต้น พืชเกษตร
                  ยืนต้นหรือการทําเหมืองแร่ แต่ต้องมีมาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ําควบคู่กันไปอย่างเข้มงวด

                    1.4   พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 4 หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ําที่มีสภาพพื้นที่เนินราบ มีความลาดชันปานกลาง
                  สภาพป่าส่วนใหญ่ถูกแผ้วถางเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ กําหนดให้มีการปลูกพืชไร่ ไม้ผลและทําทุ่ง

                  หญ้าเลี้ยงสัตว์ได้ สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบบางแห่งอาจจะมีความลาดชันแต่ค่อนข้างน้อย การพังทลายของ
                  หน้าดินค่อนข้างควบคุมได้ง่ายโดยมีพืชคลุมดิน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54