Page 5 - กำหนดเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง สพข.10
P. 5
1
บทนํา
ฐานข้อมูลและการกําหนดขอบเขตที่ดินทํากินชุมชนบนพื้นที่สูง
หลักการและเหตุผล
การดําเนินงานศึกษาความเหมาะสมเพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่สูงของกรมพัฒนาที่ดินตามแผนแม่บท
เพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมสิ่งเสพติดบนพื้นที่สูง ซึ่งมีพื้นที่ดําเนินการ
ครอบคลุมใน 20 จังหวัด พบว่า มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมโดยไม่มีมาตรการในการ
อนุรักษ์ดินและน้ํา ซึ่งก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรง ส่งผลกระทบต่อระดับความ
อุดมสมบูรณ์ของดินลดต่ําลง เกษตรกรจึงมีการย้ายพื้นที่ปลูกโดยการบุกรุกป่าไม้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ในปัจจุบันมีปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในเขตชุมชนบนพื้นที่สูงเพิ่มขึ้น เนื่องจากจํานวน
ประชากรบนพื้นที่สูงเพิ่มขึ้น รวมถึงแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานของคนพื้นราบเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดิน
บนพื้นที่สูงในเชิงพาณิชย์สูงขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่มีจํากัด จึงทําให้เกิดปัญหาในการ
แย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ทั้งเรื่องที่ดินทํากิน ทรัพยากรน้ํา ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนบนพื้นที่สูง
โดยตรง รวมถึงผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ตอนล่างอย่างรุนแรง ทั้งเรื่องอุทกภัย ดินถล่มในหลายพื้นที่
ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ทรัพยากรที่ดินบนพื้นที่สูงโดยขาดมาตรการควบคุมที่เด่นชัดในเรื่องการจัดการ
พื้นที่ทํากินและที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูงและการใช้ที่ดินเชิงอนุรักษ์
กรมพัฒนาที่ดินซึ่งมีภารกิจหลักในการดําเนินการเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ําได้เตรียมจัดทําแผนงาน
พร้อมกรอบงบประมาณ เพื่อดําเนินงานจัดทําระบบอนุรักษ์ดินและน้ําโดยกําหนดขอบเขตพื้นที่เตรียมการ
ในลักษณะลุ่มน้ําย่อย ซึ่งครอบคลุมที่ดินทํากินของชุมชนบนพื้นที่สูงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้าง
พังทลายของหน้าดินพร้อมการสนับสนุนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น และการให้ความรู้ การสาธิตแก่
เกษตรกรบนพื้นที่สูงในการทําการเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกิดความสมดุลของการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ลดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต้อง
เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่
วัตถุประสงค์
1. สํารวจวิเคราะห์ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรดิน น้ํา และสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกําหนด
ขอบเขตที่ดินทํากินให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายบริเวณพื้นที่สูง และพื้นที่ลาดชันที่ได้รับการ
ดําเนินการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(คทช.) ในลักษณะลุ่มน้ําย่อย
2. จัดประชุมและประสานงานระหว่างส่วนราชการภายในกรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานภายนอก
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบ้านเป้าหมายและพื้นที่ที่เหมาะสมเบื้องต้น และการร่วม
ปฏิบัติงานภาคสนามในการสํารวจคัดเลือกพื้นที่ ให้ได้กลุ่มบ้านและพื้นที่ที่เหมาะสม
3. ตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร แผนที่วงรอบ การออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา และนําไป
สู่การนําเข้าข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาพื้นที่ โดยการจัดทําระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ํา ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมพัฒนาที่ดินให้เป็นระบบง่ายต่อการสืบค้น