Page 92 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่สรวย
P. 92

3-49





                        3.1.5  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ

                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน (เดิมคือกองวางแผนการใช้ที่ดิน) น าวิธีการ

                  ประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ (Qualitative land evaluation หรือ Qualitative land suitability

                  classification)ของ FAO Framework (1983) มาใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน โดยกอง
                  วางแผน  การใช้ที่ดินได้จัดท าคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี

                  2535    ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะการประเมินด้านกายภาพเท่านั้น และผ่านการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาจัดพิมพ์

                  เป็นครั้งที่ 3 (2542) จนถึงปัจจุบัน (บัณฑิตและค ารณ, 2542)
                            ในการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ จะน าประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land

                  utilization type, LUT) มาประเมินว่าคุณภาพที่ดินของแต่ละหน่วยที่ดิน (Land unit, LU) เหมาะสมต่อ

                  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบใดบ้าง

                            1)  คุณภาพที่ดิน (Land quality, LQ) คือคุณสมบัติของหน่วยที่ดินที่มีอิทธิพล
                  ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land

                  characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention)

                  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยด่าง
                              (1) การคัดเลือกคุณภาพที่ดิน ส าหรับประเทศไทย คุณภาพที่ดินที่สมควรน ามาประเมิน

                  มีดังนี้

                                (1.1) ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime, t) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  คือ อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก

                                (1.2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability, m) คุณลักษณะ

                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ปริมาณน ้าฝนเฉลี่ยในรอบปี หรือความต้องการน ้าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช
                                (1.3) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability, o)

                  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ สภาพการระบายน ้าของดิน

                                (1.4) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability, s) คุณลักษณะ

                  ที่ดินเป็นตัวแทน คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                (1.5) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity, n) คุณลักษณะ

                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยด่าง

                                (1.6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions,  r) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                  ตัวแทน คือ ความลึกของดิน ชั้นการหยั่งลึกของรากพืช (Root penetration class)
                                (1.7) สภาวะการเขตกรรม (Soil workability, k) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน

                  คือ ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม (ดินบน)
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97