Page 122 - รายงานแผนการใช้ที่ดินแม่กกตอนล่าง
P. 122

3-74





                                (1.5) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity, n) คุณลักษณะ

                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยด่าง

                                (1.6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions,  r) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                  ตัวแทน คือ ความลึกของดิน ชั้นการหยั่งลึกของรากพืช (Root penetration class)

                                (1.7) สภาวะการเขตกรรม (Soil workability, k) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน

                  คือ ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม (ดินบน)

                                (1.8) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization, w) คุณลักษณะ
                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อนหิน

                                (1.9) ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard, e) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                  ตัวแทน คือ ความลาดชันของพื้นที่

                                (1.10) ความเสียหายจากน ้าท่วม (Flood hazard, f) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  คือ จ านวนครั้งที่น ้าท่วมในช่วงรอบปีที่ก าหนดไว้

                                (1.11) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts, x) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ

                  ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช
                                (1.12) สารพิษ (Soil toxicities, z) คุณลักษณะที่ดินที่เป็ นตัวแทน คือ ระดับ

                  ความลึกของชั้น jarosite ท าให้ดินเป็นกรดจัดมาก

                              (2) การวัดและการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ
                                ใช้วิธีการประเมินจากกลุ่มคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจ ากัดรุนแรงที่สุด

                            2)  ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land - use requirement, LUR)

                  แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
                              (1) ความต้องการด้านพืช (Crop requirements) คือ ความต้องการปัจจัยและ

                  สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพที่ดิน

                  ดังนี้ ระบอบอุณหภูมิ ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช

                  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร สภาพการหยั่งลึกของรากพืช
                              (2) ความต้องการด้านการจัดการ (Management requirements) เป็นความต้องการ

                  ที่เกษตรกรต้องการด้านเครื่องจักร เครื่องกล ที่ต้องใช้ในการเตรียมดิน การเขตกรรม ซึ่งประกอบด้วย

                  ปัจจัยคุณภาพที่ดิน ดังนี้ สภาวะการเขตกรรม ศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล
                              (3) ความต้องการด้านการอนุรักษ์ (Conservation requirements) เป็นความต้องการ

                  เพื่อให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ท าลายคุณภาพของที่ดิน หรือสิ่งแวดล้อมอื่นที่อยู่รอบๆ
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127