Page 59 - Sa Kaeo
P. 59

บทที่ 3

                                                  ทรัพยากรธรรมชาติ




                  3.1  ทรัพยากรดิน

                        3.1.1 สถานภาพทรัพยากรดิน

                            1) ทรัพยากรดิน
                              ทรัพยากรดินของจังหวัดสระแก้ว (รูปที่ 3-1) ประกอบด้วย
                              (1) ดินในพื้นที่ราบลุ่ม พบบริเวณตะพักลำน้ำ ที่ราบตะกอนน้ำพา ที่ราบตะกอนน้ำพา

                  บนตะพักลำน้ำเก่า ที่ราบระหว่างเนินเขา ส่วนต่ำของตะพักลำน้ำ ส่วนต่ำของพื้นที่เกือบราบหรือที่เกือบราบ
                  พื้นที่เกือบราบหรือที่เกือบราบ เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดพวกตะกอนน้ำพา ตะกอนน้ำพาใหม่ ตะกอนน้ำพา
                  มาทับถมอยู่บนหินควอร์ตไซท์และหินทราย ตะกอนน้ำพาที่มีวัตถุต้นกำเนิดมาจากหินทราย ตะกอนของ
                  หินตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะมาทับถม หรือสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะ
                  มาทับถมอยู่บริเวณพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย

                  ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงเลว มีสีน้ำตาลปนเทา น้ำตาลเข้ม เทาปนน้ำตาล บางพื้นที่พบจุดประ
                  สีน้ำตาล เหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง บางบริเวณ
                  ถูกปรับสภาพพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการยกร่อง โดยจำแนกตามลักษณะของเนื้อดินและสมบัติ

                  บางประการที่เด่นชัด ได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
                                - กลุ่มดินเหนียว ได้แก่ ดินอรัญประเทศที่เป็นดินเหนียว (Ar-f) ดินอรัญประเทศที่มี
                  ศิลาแลงอ่อนและเป็นดินเหนียว (Ar-pic,f) ชุดดินนครปฐม (Np) ชุดดินพิษณุโลก (Psl) และดินตาพระยา
                  ที่เป็นดินเหนียวละเอียด (Tpy-f)

                                - กลุ่มดินทรายแป้ง ได้แก่ ดินตาพระยาที่เป็นดินทรายแป้งละเอียด (Tpy-fsi)
                                - กลุ่มดินร่วนละเอียด ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก (Bt) ชุดดินโคกสำโรง (Ksr) ดินละหานทราย
                  ที่เป็นดินร่วนละเอียด (Lah-fl) ชุดดินตาพระยา (Tpy) และดินวังทองที่เป็นดินร่วนละเอียด (Wto-fl)
                                - กลุ่มดินร่วนหยาบ ได้แก่ ดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำเลวและเป็น

                  ดินร่วนหยาบ (AC-pd,col) ดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำเลวเป็นดินร่วนละเอียด (AC-pd,fl)
                  ดินโคกสำโรงที่เป็นดินร่วนหยาบ (Ksr-col) ชุดดินละหานทราย (Lah) และชุดดินวังทอง (Wto)
                                -กลุ่มดินตื้น ได้แก่ ชุดดินอรัญประเทศ (Ar) ดินอรัญประเทศที่เป็นดินร่วนปน
                  ชิ้นส่วนหยาบ (Ar-lsk) ดินบางคล้าที่มีจุดประสีเทา (Bka-gm) และดินบางคล้าที่มีความอิ่มตัวเบสสูงและ

                  มีจุดประสีเทา (Bka-hb,gm)

                              (2) ดินในพื้นที่ดอน พบบริเวณตะพักลำน้ำ สันดินริมน้ำ พื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน
                  ตะพักลำน้ำเก่าหรือเนินตะกอนรูปพัด พื้นเกือบราบ พื้นที่ของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน ตะพักลำน้ำเก่า
                  ลานตะพักลำน้ำ เกิดจากตะกอนน้ำพา การผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทาง
                  ใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลก ของหินดินดาน หินอัคนี พวกหินแอนดีไซต์ ไรโอไลท์ ทัฟฟ์ หินตะกอน

                  เนื้อละเอียด หินที่แปรสภาพ หินตะกอนเนื้อหยาบ หินทราย หินควอร์ตไซต์ ดินไรโอไรต์ หินเกรย์แวก





                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64