Page 9 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 9

บทที่ 1


                                                         บทน ำ




                  1.1   หลักกำรและเหตุผล

                        จากสถานการณ์ปัญหาการใช้ประโยชน์และการจัดการที่ดินของประเทศไทยในช่วงหลายทศวรรษ
                  ที่ผ่านมา มีหลายประเด็นส าคัญ ได้แก่ การบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์ ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน การใช้

                  ที่ดินที่ไม่เหมาะสมหรือเต็มศักยภาพ ความเหลื่อมล้ าและการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม
                  การไร้ที่ดินท ากิน การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และเป็นอุปสรรค
                  ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ตลอดจนส่งผลต่อความมั่นคง
                  ของฐานทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะที่ดิน ซึ่งเป็นฐานหลักในการผลิตอาหารที่มั่นคงและปลอดภัย

                  และมีผลิตภาพสูง รวมไปถึง  ที่ดินยังมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในสาขา
                  การพัฒนาอื่นๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ ส่งผลให้ความต้องการที่ดิน
                  เพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
                  เพื่อพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ทรัพยากรดินของประเทศไทย ยังประสบปัญหาดินเสื่อมโทรมและ

                  ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยในปี 2550 ประเทศไทยมีพื้นที่เสื่อมโทรมทั้งสิ้น 319.58 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่
                  เสื่อมโทรมระดับรุนแรง และระดับวิกฤต จ านวน 35.88 ล้านไร่ หรือร้อยละ 11.24 ของพื้นที่ประเทศ
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550 อ้างถึงใน ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
                  2561) โดยสาเหตุส าคัญที่ท าให้ดินเสื่อมโทรมมีทั้งเกิดจากการเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่

                  มีสาเหตุมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การเกิดภัยแล้ง อุทกภัย และดินถล่ม เป็นต้น และเกิดจาก
                  การกระท าของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ เผา และถางป่า การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน
                  หรือการใช้ที่ดินผิดประเภท รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินติดต่อกันเป็นเวลานานแต่ขาดการบ ารุงรักษา

                  สภาพดิน ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ า ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เมื่อดินเสื่อมโทรมมาก
                  การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการท าเกษตรกรรมก็มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น จากการส ามะโนการเกษตรของ
                  ส านักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2556 พบว่า มีการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 57.3 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก
                  ปี พ.ศ. 2536 และ พ.ศ. 2546 ที่มีปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 33.9 และ 41.8 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ
                  (ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2556 อ้างถึงใน ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อม, 2561)
                        จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 72(1)
                  จึงได้มีการบัญญัติให้มีการวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพ

                  ของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อให้เป็นไปในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ส านักนายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ ลงวันที่ 6
                  เมษายน 2561 โดยมีแผนการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรดิน
                  ที่ได้ก าหนดให้มีการจัดท าแผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของ

                  พื้นที่และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศมีแผนการใช้ที่ดินของชาติ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14