Page 115 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 115

4-3





                  พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรที่เป็น

                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความ
                  มั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนศึกษาความเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรให้เป็น
                  (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2559) มาตรการเชิงบังคับ ขยายผล

                  แนวคิดการท าการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
                  และผลักดันสู่กระบวนการท าเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

                          5) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560-
                  2579) มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              ยุทธศาสตร์ที่ 2  ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีกลยุทธ์หลัก

                  ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งเน้น
                  การวางแผนก าหนดเป้าหมาย และสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ ให้มีความเหมาะสม
                  อย่างเป็นระบบ ตามศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ การจัดให้
                  มีการวางผังเมืองในทุกระดับ โดยให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและบังคับใช้กฎหมายที่

                  เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ การก าหนดเขตและมาตรการใช้ประโยชน์
                  ที่ดินทั้งในระดับประเทศ ระดับลุ่มน้ าและระดับจังหวัด ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน การก ากับ
                  ควบคุมการถือครองที่ดินของประเทศ ให้มีการกระจายถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ขอคืนพื้นที่ที่ไม่ได้
                  ใช้ประโยชน์เพื่อน ามาใช้ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งป้องกันการถือครองที่ดินของคนต่างชาติ และนิติ

                  บุคคลต่างด้าว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการน าที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือ
                  ไม่ได้ใช้ประโยชน์กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทาง
                  เศรษฐกิจโดยใช้กลไกประชารัฐ 2) การเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน
                  เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมุ่งเน้นการก าหนดพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) โดยการวางผังจัดรูป

                  ที่ดิน จัดระบบชลประทาน จัดสร้างถนนหรือทางล าเลียงในไร่นา ปรับระดับพื้นที่ บ ารุงดิน วางแผนการ
                  ผลิต และจ าหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ การพัฒนา
                  ศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรมในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุนโดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการด้าน

                  การเกษตร เทคโนโลยีและนวัตกรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริม สนับสนุน การปรับเปลี่ยน
                  กระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยว ไปสู่รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกื้อกูลกับ
                  ระบบนิเวศและสอดคล้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ า การฟ้้นฟู ปรับปรุง คุณภาพดินที่เสื่อมโทรม ขาด
                  ความอุดมสมบูรณ์และแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยในการท า
                  การเกษตร และเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพและขยาย

                  โอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นฐานการผลิตการเกษตรที่ยั่งยืน และ
                  การสร้างกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินเกษตรกรรม เพื่อรักษาฐานการผลิต
                  ภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน และ 3) การเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  และทรัพยากรดินต่อผลกระทบและภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่ได้รับความ
                  เสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการคาดการณ์ และประเมินผลกระทบที่
                  อาจจะเกิดขึ้นในที่ดินหรือทรัพยากรดินจากการเปลี่ยนแปลสภาพภูมิอากาศ หรือภัยธรรมชาติและการ
                  ก าหนดแนวทางในการรับมือ ป้องกัน แก้ไขปัญหา ก าหนดมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสม ในพื้นที่ที่
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120