Page 24 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 24

2-8






                      2. การคมนาคมทางอากาศ

                        มีสนามบินท่าอากาศยานระนอง ตั้งอยู่ที่ ต าบลราชกรูด อ าเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
                  ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 25 กิโลเมตร สนามบินแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกรมท่า
                  อากาศยาน กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีท่าอากาศยานที่เป็นสายการบินภายในประเทศ 2 สายการบิน คือ

                  สายการบินนกแอร์ และสายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทาง ดอนเมือง – ระนอง – ดอนเมือง

                  2.4.  สภาพภูมิประเทศ

                      จังหวัดระนองตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย มีลักษณะรูปร่างเรียวยาว จากทิศเหนือ

                  สุดจดใต้สุดยาว 169 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดที่เป็นพื้นดิน ประมาณ 25 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุด
                  อยู่ที่คอคอดกระ อ าเภอกระบุรี กว้าง 9 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นส่วนที่แคบที่สุดในแหลมมลายู ลักษณะ
                  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และมีป่าปกคลุมทางทิศตะวันออกของจังหวัด พื้นที่

                  ลาดเอียงลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง
                  สูง 1,700 ฟุต มีหมู่เกาะกระจายในทะเลอันดามัน จ านวน 62 เกาะ และมีแม่น้ ากระบุรีกั้นพรมแดน
                  ไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ส านักงานจังหวัดระนอง, 2561)


                  2.5  สภาพภูมิอากาศ

                      จังหวัดระนองมีลักษณะภูมิอากาศทั่วไปร้อนชื้น ฤดูร้อนมีอากาศร้อนมากโดยเฉพาะช่วงเดือน
                  มีนาคมในปี 2562 มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดที่ 34.70 องศาเซลเซียส ฤดูฝนฝนตกมากในช่วงเดือนสิงหาคม

                  ซึ่งเป็นฤดูกาลเพาะปลูกของเกษตรกร ฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างหนาวช่วงเดือนมกราคมอุณหภูมิเฉลี่ย
                  ต่ าสุดในปี 2562 เฉลี่ยต่ าสุดอยู่ที่ 22.30 องศาเซลเซียส ส าหรับความชื้นสัมพัทธ์ ใน ปี 2562 มีค่า
                  ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 86.00 โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 2-2)
                        อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.25 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือน

                  เมษายนประมาณ 28.80 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ าสุดในเดือนกันยายน ตุลาคม และธันวาคม
                  ประมาณ 26.50 องศาเซลเซียส
                        ปริมาณน้ าฝน มีปริมาณน้ าฝนรวมตลอดปี 4,219.30 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ าฝนสูงสุด

                  ในเดือนสิงหาคมประมาณ 746.30 มิลลิเมตร และปริมาณน้ าฝนต่ าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ
                  19.60 มิลลิเมตร
                        ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 79.50 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด
                  ในเดือนกันยายนประมาณ 86 เปอร์เซ็นต์ และต่ าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
                        การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูก จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมดุลของน้ าเพื่อการเกษตรด้วย

                  ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายเดือน และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าเฉลี่ยรายเดือน
                  (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งค านวณโดยใช้โปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0 โดย
                  พิจารณาจากช่วงระยะที่น้ าฝนอยู่ที่เหนือระดับเส้น 0.5 ของค่าศักยภาพการคายระเหยน้ า (0.5 ETo)

                  เป็นหลัก เพื่อหาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชของจังหวัดระนองสามารถสรุปได้ดังนี้
                          1) ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก จะอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลาย
                  เดือนธันวาคม เนื่องจากดินมีความชื้นเพียงพอส าหรับการปลูกพืช
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29