Page 50 - Land Use Plan of Thailand
P. 50

2-22





                  ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ก็จะผ่อนผันให้ตามความจ าเป็นโดยใช้มาตรการทางการบริหารจัดการ

                  มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และการปลูกป่าทดแทนเข้าด าเนินการ ทั้งจะให้เชื่อมโยงกับการส่งเสริม
                  การมีอาชีพและรายได้อื่นอันเป็นบ่อเกิดของเศรษฐกิจชุมชนที่ต่อเนื่องเพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถพึ่งพา
                  ตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยที่ดินยังเป็นของรัฐ จะจัดท าฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ

                  จัดท าทะเบียนผู้ถือครองที่ดินในที่ดินของรัฐ ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการที่ดินของรัฐและเอกชนให้มี
                  เอกภาพเพื่อท าหน้าที่ก าหนดนโยบายด้านที่ดินในภาพรวม และปรับปรุงกลไกภาษีเพื่อกระจายการถือ
                  ครองที่ดิน เร่งรัดการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้โดยไม่ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ แต่รับรองสิทธิร่วมในการ
                  จัดการที่ดินของชุมชน ก าหนดรูปแบบที่เหมาะสมของธนาคารที่ดินเพื่อให้เป็นกลไกในการน าทรัพยากร
                  ที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ส านักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 2557, หน้า 6, 12, 16)

                        2.2.2  นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทางด้านการเกษตร
                               นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 โดย
                  มุ่งเน้นการสร้างสังคมแห่งโอกาสและสังคมแห่งความเท่าเทียม สร้างความเป็นธรรม ในการเข้าถึง

                  ทรัพยากร สร้างความสามารถให้แก่ผู้คนเพื่อเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งมี
                  รายละเอียดด้านการเกษตรดังนี้
                               ในอดีตที่ผ่านการเกษตรในประเทศไทยยังประสบกับปัญหาในหลายด้าน เช่น
                               1)  ความไม่สมดุลภาคการเกษตร เนื่องจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล

                  มีความยืดหยุ่นน้อย การบริโภคคงที่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ
                               2)  ความไม่สมดุลของธรรมชาติ ทั้งเรื่องภัยแล้งและน้ าท่วม ราคาผลผลิตขึ้นอยู่กับตลาด
                               3)  ความยากจนของเกษตรกร ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตราคาไม่แน่นอน เกษตรกร
                  รายย่อย สถาบันการเกษตร และสหกรณ์บางแห่งไม่เข้มแข็ง มีการเอารัดเอาเปรียบ และการผูกขาดจาก

                  พ่อค้าคนกลาง เกษตรกรบางรายไม่มีที่ดินท ากินเป็นของตัวเอง ที่ดินมีความเสื่อมโทรม
                               4)  ปัญหาความเลื่อมล้ า เกษตรกรบางรายเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก ขาดความรู้ทางด้าน
                  นวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่มีแหล่งเงินทุน ขาดความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล
                               จากปัญหาดังกล่าว จึงน ามาสู่การปฏิรูปภาคการเกษตร โดยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้น

                  การพัฒนาใน 4 ด้าน คือ
                               1)  การพัฒนาคน โดยการมุ่งเน้นเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของเกษตรกร และ
                  สถาบันการเกษตรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก เช่นจัดท าโครงการศูนย์การเรียนรู้

                  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาสหกรณ์
                  การเกษตร เป็นต้น
                               2)  การพัฒนาพื้นที่ ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                  และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้านการเกษตรให้สอดคล้องและเพียงพอกับพื้นที่เกษตร เช่น
                  โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามหลักการแผนที่เกษตรเพื่องบริหารจัดการเชิงรุก (Agri–Map)

                               3)  การพัฒนาสินค้า พัฒนาทางด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าด้วย
                  ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ให้สามารถแข่งขันทางการตลาดได้ โดยให้อยู่ภายใต้โครงการระบบส่งเสริม
                  เกษตรแปลงใหญ่ โครงการเกษตรอินทรีย์ โครงการธนาคารสินค้าเกษตร เป็นต้น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55