Page 155 - Land Use Plan of Thailand
P. 155

5-11





                       5.3.3   การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปลูกพืชเศรษฐกิจ

                               พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ 6 ชนิดคือ ข้าว ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส าปะหลัง
                  อ้อย และปาล์มน้ ามัน เนื้อที่การปลูกมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงแผนพัฒนากรเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                  ฉบับต่างๆ ดังนี้

                               (1)   ข้าว (นาปี)
                                   พื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศได้เพิ่มขึ้นโดยใน พ.ศ. 2497 มีเนื้อที่ปลูก 37,647,000 ไร่
                  และเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2554-2559) ซึ่ง
                  มีโครงการรับจ าน าข้าวโดยมีเนื้อที่ 64,951,000 ไร่ และลดลงมาเหลือ 58,427,000 ไร่ ใน
                  พ.ศ. 2559  ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-9

                               (2)   ยางพารา
                                   พื้นที่ปลูกยางพาราได้เพิ่มขึ้น โดยใน พ.ศ. 2497 มีเนื้อที่ปลูก 2,098,000 ไร่ และ
                  เพิ่มขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 –

                  2549) และต่อเนื่องมาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 และ พ.ศ.
                  2554) เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และเพิ่มขึ้นมาเป็น 23,340,000 ไร่ ใน
                  พ.ศ. 2559  ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-9

                               (3)   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                                   พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน พ.ศ. 2497 มีจ านวน 332,000 ไร่ และเพิ่มขึ้นมา
                  จ านวนมาก ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) จนมีเนื้อที่
                  10,940,000 ไร่ หลังจากนั้นพื้นที่ปลูกข้าวโพดได้ลดลงเหลือ 6,516,000 ไร่ ใน พ.ศ. 2560  ดัง

                  รายละเอียดในตารางที่ 5-9
                               (4)   มันส าปะหลัง
                                   พื้นที่ปลูกมันส าปะหลังใน พ.ศ. 2497 มีจ านวน 240,000 ไร่ และเพิ่มขึ้นมาเป็น
                  9,323,000 ไร่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2540-2545) และลดลงเหลือ

                  9,313,000 ไร่ ใน พ.ศ. 2560  ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-9
                               (5)  อ้อย
                                   พื้นที่ปลูกอ้อยใน พ.ศ. 2497 มีจ านวน 803,000 ไร่ และเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ถึง

                  พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 9,860,000 ไร่ เพิ่มขึ้นจ านวน 9,057,000 ไร่ ในช่วงเวลา 63 ปี (ตาราง
                  ที่ 8-2) ใน พ.ศ.2560 พื้นที่ปลูกอ้อยมีมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเพิ่มจาก 229,000 ไร่
                  ใน พ.ศ. 2497 มาเป็น 1,022,099 ไร่ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.
                  2535-2539) และเพิ่มมาเป็น 4,393,215 ไร่ ใน พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลจากนโยบายของรัฐในการ Zoning
                  ที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกอ้อยแทน  ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-9

                               (6)  ปาล์มน้ ามัน
                                   ปาล์มน้ ามันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญอีกชนิดหนึ่งที่เดิมปลูกอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ใน
                  พ.ศ. 2520 มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 69,600 ไร่ และเพิ่มขึ้นตลอดเวลาจนมีพื้นที่ปลูกรวม 4,563,895 ไร่

                  ใน พ.ศ. 2560  ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-9
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160