Page 89 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 89

4-7






                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ


                        4.4.1 สรุป
                            เขตการใช้ที่ดินข้าวพันธุ์ กข43 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคเหนือ มีเนื้อที่รวม
                  8,872,867 ไร่ ประกอบด้วย 2 เขต คือ เขตการใช้ที่ดินข้าวพันธุ์ กข43 ที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)
                  เนื้อที่ 7,864,914 ไร่ หรือร้อยละ 88.64 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดินข้าวพันธุ์ กข43 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่

                  อยู่ในภาคกลางและภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท กำแพงเพชร และ
                  พิษณุโลก ตามลำดับ  และเขตการใช้ที่ดินข้าวพันธุ์ กข43 ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) เนื้อที่
                  1,007,953 ไร่ หรือร้อยละ 11.36 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดินข้าวพันธุ์ กข43 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ใน

                  ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร
                  และปราจีนบุรี ตามลำดับ

                        4.4.2 ข้อเสนอแนะ
                            -  เพิ่มระบบชลประทานและเครือข่าย เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและระบบน้ำในระดับไร่นา ให้
                  มีพื้นที่การผลิตที่มีศักยภาพ

                            -  ปรับพื้นที่ให้มีรูปร่างและขนาดเหมาะสมต่อการใช้เครื่องมือจักรกล ทั้งในด้านการผลิต
                  การขนถ่ายผลผลิต และเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้
                            -  ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีตาม
                  ค่าวิเคราะห์ดินรายแปลง

                            -  เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และการปรับปรุงคุณภาพ
                  ผลผลิตตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการตรวจ
                  รับรองคุณภาพ

                            -  พัฒนาระบบเตือนภัยธรรมชาติทางการเกษตรและการระบาดของศัตรูพืช
                            -  พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการจัดการการผลิต
                            -  ส่งเสริมปัจจัยการผลิตการบริหารจัดการ ทั้งเครื่องจักรกลการเกษตร การป้องกันโรค
                  และแมลง การเตรียมดิน การปลูกและดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เป็นต้น
                            -  ส่งเสริมระบบประกันภัยพืชผล

                            -  จัดทำแปลงต้นแบบข้าวอัจฉริยะอย่างครบวงจรในเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสม
                  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมในการยกระดับทั้งความเหมาะสมทางด้านดิน น้ำ และระบบโลจิสติกส์
                            -  วางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน โดยจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ

                  ต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำทุกกิจกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94