Page 22 - rubber
P. 22

2-6






                        2.2.5 อุณหภูมิ

                            อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะมี
                  ความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน บริเวณตั้งแต่ภาคกลางและ

                  ภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไป จนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว
                  และระหว่างกลางวันกับกลางคืน ส าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้

                  ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาว

                  อากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน

                  2.3  ทรัพยากรที่ดิน

                        ทรัพยากรดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญในการผลิตและเป็นรากฐานของความเป็นอยู่

                  ในการด ารงชีวิตของมนุษย์ ประเทศที่มีทรัพยากรดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ย่อมท าให้สังคมและ

                  การด าเนินชีวิตของประชากรดี ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลัก
                  ในการผลิตอาหารของประเทศ ดินเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ต่าง ๆ มารวมตัวหรือทับถม

                  แล้วผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุตามกระบวนการทางธรณีวิทยา โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิประเทศ

                  ภูมิอากาศ พืชพรรณ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดินและระยะเวลาของการเกิด จนเกิดเป็นดิน
                  ดินที่เกิดในบริเวณต่างกันอาจมีลักษณะและสมบัติทางกายภาพและเคมีแตกต่างกัน เช่น เนื้อดิน สีดิน

                  ความเป็นกรดเป็นด่าง แร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ และปริมาณอินทรียวัตถุ เป็นต้น ท าให้ดินในแต่ละ

                  พื้นที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน
                        จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินที่ได้จัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกัน

                  ในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 62 กลุ่มชุดดิน
                  โดยแบ่งตามสภาพที่พบได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

                        1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง พบทุกภาค ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และกลุ่มชุดดินที่ 57-59

                        2) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
                  ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 30 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49 52 54 55 56 60 และ 61

                        3) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น พบในภาคตะวันออกและภาคใต้ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                  26 27 32 34 39 42 43 45 50 51 และ 53

                        4) กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง พื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์

                  ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62 กลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะและสมบัติที่เฉพาะตามปัจจัยการเกิดดิน
                  และการสร้างดินซึ่งลักษณะประจ ากลุ่มชุดดินได้สรุปไว้ดังตารางที่ 2-1 และรูปที่ 2-1











                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27