Page 79 - rambutan
P. 79

3-5




                        3.1.2  คุณภาพของทรัพยากรที่ดิน

                            1)  คุณภาพที่ดิน (Land Quality)

                              คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดิน

                  อาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land Characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความเป็น
                  ประโยชน์ของอ๊อกซีเจนต่อรากพืช (Oxygen Availability to Root) เป็นคุณภาพที่ดินซึ่งมีผลมาจาก

                  คุณลักษณะของที่ดินหลายตัว เช่น การระบายน ้าของดิน (Soil Drainage Class) ความลึกของระดับน ้า

                  ใต้ดิน (Depth of Water table) เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบของสภาพสิ่งแวดล้อมที่
                  อยู่โดยรอบ เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมด้วย คุณภาพที่ดินในแต่ละ

                  พื้นที่จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของที่ดินและสภาพแวดล้อมนั้น ๆ โดยทั่วไปการประเมิน

                  คุณภาพที่ดินทางกายภาพจะสอดคล้องกับหน่วยที่ดินในแต่ละพื้นที่

                            2)  หน่วยที่ดิน (Land Unit)
                            เป็นการศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของดินให้ครอบคลุมในด้านการจัดการและ

                  การอนุรักษ์ เพื่อจัดเป็นหน่วยที่ดินที่มีสมบัติเฉพาะตัวของหน่วยที่ดินนั้น ๆ ส าหรับใช้ในการประเมิน

                  คุณภาพที่ดิน ซึ่งการจัดการที่ดินที่น ามาพิจารณาในการจัดท าหน่วยที่ดินประกอบด้วย โครงการจัดรูปที่ดิน
                  ใช้สัญลักษณ์ M1 ยกร่องในพื้นที่ลุ่ม ใช้สัญลักษณ์ M2 และดินดอนมีคันนา ใช้สัญลักษณ์ M3

                            การจัดท าหน่วยที่ดิน (Land Unit) ส าหรับใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินส าหรับเงาะ

                  พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช
                  โดยใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน (Soil Group) ประเภทดิน (Soil Phases) การจัดการพื้นที่ในการจัดท าหน่วยที่ดิน

                  ซึ่งสามารถจัดท าหน่วยที่ดินได้ 62 กลุ่มหน่วยที่ดิน มีทั้งหมด 383 หน่วยที่ดิน แบ่งเป็นหน่วยที่ดิน

                  เดี่ยว 169 หน่วยที่ดิน และหน่วยที่ดินสัมพันธ์หรือหน่วยที่ดินรวม 214 หน่วยที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้
                              (1) กลุ่มหน่วยที่ดินที่ 1

                                  พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก การระบายน ้าเลว

                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงถึงสูงมาก ความอิ่มตัวด้วย

                  ประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรด
                  ปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0 - 7.0 ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทราย

                  แป้งถึงดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.0 - 8.0

                                กลุ่มหน่วยที่ดินที่ 1 ประกอบด้วยหน่วยที่ดินที่ 1

                              (2) กลุ่มหน่วยที่ดินที่ 2
                                   พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก การระบายน ้าเลว

                  ถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงถึงสูงมาก
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84