Page 56 - rambutan
P. 56

2-34






                  2.5  การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจเงาะ

                         จากการส ารวจสภาพการใช้ที่ดินในปี 2558-2559 โดยกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน

                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกเงาะทั้งในลักษณะที่ปลูกเป็นพืชเดี่ยวและ

                  ปลูกร่วมกับพืชอื่น ส่วนใหญ่ปลูกผสมกับไม้ผลเขตร้อน มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 429,023 ไร่ มีรายละเอียดดังนี้
                  (ตารางที่ 2-6 ถึง 2-7 และรูปที่ 2-1)

                         ภาคกลาง มีพื้นที่ปลูกเงาะ 7,181 ไร่ ซึ่งจ าแนกได้เป็นเงาะสวนเดี่ยว 1,025 ไร่ สวนผสมสองชนิด

                  1,193 ไร่ และสวนผสมมากกว่าสองชนิด 4,963 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก 3 อันดับแรก เรียงจาก

                  มากไปน้อยได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดราชบุรี ตามล าดับ และเมื่อพิจารณาเขต
                  เกษตรกรรม เขตป่าไม้ตามกฎหมาย พบว่า ในพื้นที่ภาคกลางมีพื้นที่ปลูกเงาะในเขตเกษตรกรรม

                  4,082 ไร่ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย 3,099 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดกาญจนบุรีมีพื้นที่ปลูกในเขตป่าไม้ตาม

                  กฎหมายมากที่สุด คือ 2,641 ไร่
                         ภาคตะวันออก มีพื้นที่ปลูกเงาะ 199,295 ไร่ ซึ่งจ าแนกได้เป็นเงาะสวนเดี่ยว 99,414 ไร่ สวนผสม

                  สองชนิด 55,365 ไร่ และสวนผสมมากกว่าสองชนิด 44,516 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก 3 อันดับแรก

                  เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ จังหวัดตราด จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง ตามล าดับ และเมื่อ

                  พิจารณาเขตเกษตรกรรม เขตป่าไม้ตามกฎหมาย พบว่า ในพื้นที่ภาคตะวันออกมีพื้นที่ปลูกเงาะในเขต
                  เกษตรกรรม 188,897 ไร่ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย 10,398 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ปลูกในเขตป่าไม้

                  ตามกฎหมายมากที่สุด คือ 5,493 ไร่

                         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูกเงาะ 12,156 ไร่ ซึ่งจ าแนกได้เป็นเงาะสวนเดี่ยว 2,601 ไร่
                  สวนผสมสองชนิด 1,189 ไร่ และสวนผสมมากกว่าสองชนิด 8,366 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก 3

                  อันดับแรก เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดเลย

                  ตามล าดับ และเมื่อพิจารณาเขตเกษตรกรรม เขตป่าไม้ตามกฎหมาย พบว่า ในพื้นที่ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกเงาะในเขตเกษตรกรรม 11,619 ไร่ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย 537 ไร่

                  ทั้งนี้จังหวัดเลยมีพื้นที่ปลูกในเขตป่าไม้ตามกฎหมายมากที่สุด คือ 189 ไร่

                         ภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกเงาะ 12,863 ไร่ ซึ่งจ าแนกได้เป็นเงาะสวนเดี่ยว 3,220 ไร่ สวนผสม

                  สองชนิด 2,679 ไร่ และสวนผสมมากกว่าสองชนิด 6,964 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก 3 อันดับแรก
                  เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเชียงใหม่ ตามล าดับ และเมื่อ

                  พิจารณาเขตเกษตรกรรม เขตป่าไม้ตามกฎหมาย พบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกเงาะในเขต

                  เกษตรกรรม 7,963 ไร่ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย 4,900 ไร่ ทั้งนี้จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ปลูกในเขตป่าไม้

                  ตามกฎหมายมากที่สุด คือ 2,060 ไร่
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61