Page 61 - pineapple
P. 61

3-3







                        3.1.2 คุณภาพของทรัพยากรที่ดิน

                          1) คุณภาพที่ดิน (Land Quality)
                            คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดินอาจจะ
                  ประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความเป็นประโยชน์
                  ของอ๊อกซีเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to root) เป็นคุณภาพที่ดินซึ่งมีผลมาจากคุณลักษณะของ
                  ที่ดินหลายตัว เช่น การระบายน้ําของดิน (Soil drainage class) ความลึกของระดับน้ําใต้ดิน (depth

                  of watertable) เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบของสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ
                  เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมด้วย คุณภาพที่ดินในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน
                  ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินและสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยทั่วไปการประเมินคุณภาพที่ดินทางกายภาพจะ

                  สอดคล้องกับหน่วยที่ดินในแต่ละพื้นที่
                          2) หน่วยที่ดิน (Land Unit)
                             การจัดทําหน่วยที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจสับปะรด เป็นการนําปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพล

                  ต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรดินมาวิเคราะห์ร่วมกับสภาพพื้นที่ การใช้ที่ดิน
                  การพัฒนาแหล่งน้ําหรือโครงการชลประทาน (I) เพื่อกําหนดขอบเขตเป็นหน่วยที่ดิน (land unit) ที่มี
                  ลักษณะเฉพาะ โดยใช้ข้อมูลสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดิน เช่น การระบายน้ํา ความลึกของดิน

                  ปฏิกิริยาดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความลาดชันของพื้นที่ในการจัดทําคุณภาพที่ดิน (land quality)
                  เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินทางกายภาพสําหรับพืชเศรษฐกิจสับปะรด
                             จากการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินร่วมกับสภาพการใช้ที่ดิน และการพัฒนาแหล่งน้ํา

                  ในประเทศ โดยมีลักษณะและคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน ดังนี้ (ตารางภาคผนวกที่ X)
                             (1)   หน่วยที่ดินในพื้นที่ลุ่ม

                               (1.1)   หน่วยที่ดินที่เป็นดินเหนียวลึกมาก มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ
                  ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินเหนียว
                  ปนทรายแป้ง หรือดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 5.0-8.0) ดินล่างมี
                  เนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นด่างปานกลาง (pH

                  4.5-8.0) การระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ําถึงปานกลาง ความจุใน
                  การแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ําถึงสูง ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต่ําถึงสูง ซึ่งแบ่งตามการพัฒนาพื้นที่
                  เพื่อเกษตรกรรมได้เป็น 2 ประเภท คือ
                                   (1.1.1)  หน่วยที่ดินทั่วไป ประกอบด้วย หน่วยที่ดิน 1 3 3sa 4 4/7 4/33

                  4/38 4/38b,fsi 5 5/6 5/15 6 6/59 7 7hi 7hi,sa 7sa 7/15 7/38 7/38b,fsi 7/38fsi 7/53 7hi/15hi
                  และ 59f
                                   (1.1.2)  หน่วยที่ดินในเขตชลประทาน (I) ประกอบด้วย หน่วยที่ดิน 1I 3I 3saI
                  4I 4/7I 4/33I 4/38I 4/38b,fsiI 5I 5/6I 6I 7I 7hiI 7saI 7/15I 7/38I 7/38b,fsiI 7/38fsiI และ 7hi/15hiI

                               (1.2)   หน่วยที่ดินที่มีการยกร่องเพื่อปลูกพืชผักหรือไม้ผล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง
                  ถึงเป็นปานกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่าง






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66