Page 29 - pineapple
P. 29

2-19





                           2.4.2 แหล่งน้ําชลประทานผิวดิน

                            แหล่งน้ําผิวดินเป็นโครงการที่มีลักษณะแตกต่างกันทั้งด้านขนาด การใช้ประโยชน์ และ
                  หน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการสร้างและบํารุงรักษา โดยขนาดของโครงการพัฒนาแหล่งน้ําผิวดิน
                  สามารถแบ่งได้เป็นโครงการขนาดใหญ่ โครงการขนาดกลาง โครงการขนาดเล็ก และโครงการสูบน้ําด้วย

                  ไฟฟ้า ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้ (ตารางที่ 2-3 และ 2-4)
                            1) แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคเหนือ
                            แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคเหนือแบ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่จํานวน 20 โครงการ
                  ปริมาณน้ํากักเก็บ 24,464 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 2,430,929 ไร่ โครงการขนาดกลาง
                  จํานวน 174 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 1,131 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 3,310,565 ไร่

                  โครงการขนาดเล็กจํานวน 24 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 0.16 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน
                  11,670 ไร่
                            2) แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                            แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่
                  จํานวน 25 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 10,845 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 2,681,907 ไร่
                  โครงการขนาดกลางจํานวน 304 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 1,654 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่
                  ชลประทาน 1,108,883 ไร่ โครงการขนาดเล็กจํานวน 25 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 2.57 ล้าน

                  ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 1,900 ไร่ และโครงการสูบน้ําด้วยไฟฟ้าจํานวน 32 โครงการ ปริมาณ
                  น้ํากักเก็บ 1.12 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 47,992 ไร่
                            3) แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคกลาง
                            แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคกลางแบ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่จํานวน 41 โครงการ

                  ปริมาณน้ํากักเก็บ 29,253 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 8,697,861 ไร่ โครงการขนาดกลาง
                  จํานวน 59 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 402 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 333,172 ไร่ โครงการ
                  ขนาดเล็กจํานวน 13 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 0.35 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 500 ไร่
                  และโครงการสูบน้ําด้วยไฟฟ้าจํานวน 2 โครงการ พื้นที่ชลประทาน 6,000 ไร่

                            4) แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคตะวันออก
                            แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคตะวันออกแบ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่จํานวน 9
                  โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 1,089 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 1,146,770 ไร่ โครงการขนาด

                  กลางจํานวน 62 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 2,143 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 750,604 ไร่
                  โครงการขนาดเล็กจํานวน 7 โครงการ พื้นที่ชลประทาน 500 ไร่ และโครงการสูบน้ําด้วยไฟฟ้าจํานวน 3
                  โครงการ พื้นที่ชลประทาน 2,900 ไร่
                            5) แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคใต้
                            แหล่งน้ําชลประทานผิวดินภาคใต้แบ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่จํานวน 9 โครงการ

                  ปริมาณน้ํากักเก็บ 7,123 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 1,496,819 ไร่ โครงการขนาดกลาง
                  จํานวน 186 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 361 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 1,026,794 ไร่
                  โครงการขนาดเล็กจํานวน 29 โครงการ ปริมาณน้ํากักเก็บ 0.22 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน

                  6,613 ไร่ และโครงการสูบน้ําด้วยไฟฟ้าจํานวน 6 โครงการ พื้นที่ชลประทาน 20,750 ไร่





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34