Page 85 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 85

2-67





                          3) แหลงน้ำตามธรรมชาติในภาคกลาง


                              แหลงน้ำธรรมชาติในภาคกลางจากการที่ลักษณะภูมิประเทศของภาคนี้เปนที่ราบลุม
                  กวางใหญ ซึ่งไดชื่อวาเปนอูขาวอูน้ำของประเทศไทย มีแมน้ำที่สำคัญ คือ
                              แมน้ำเจาพระยา เกิดจากการรวมตัวของแมน้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแมน้ำ
                  ปงและแมน้ำนาน โดยมาบรรจบกันบริเวณหนาเขื่อนในตัวเมือง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค
                  จังหวัดนครสวรรค โดยจะเห็นความแตกตางของสายน้ำทั้งสองไดอยางชัดเจน กลาวคือ แมน้ำนานจะมีสี

                  คอนขางแดง และแมน้ำปงจะเปนสีคอนขางไปทางเขียว เมื่อมาบรรจบกันแลวจึงคอย ๆ รวมตัวเขาดวยกัน

                  กลายเปนแมน้ำสายใหญไหลไปทางทิศใต มีแมน้ำสะแกกรังไหลมาบรรจบที่อำเภอวัดสิงห จังหวัดชัยนาท มี
                  แมน้ำสุพรรณบุรีแยกทางฝงตะวันตกที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท มีแมน้ำนอยแยกไปทางฝง

                  ตะวันตก และแมน้ำเจาพระยาไหลผานลงมาถึงจังหวัดสิงหบุรี มีคลองบางพุทราแยกไปทางดานตะวันออก
                  ซึ่งคลองนี้ไหลไปลงแมน้ำลพบุรี ตอจากนั้นแมน้ำเจาพระยาจะไหลผานจังหวัดอางทอง เขาเขตจังหวัด
                  พระนครศรีอยุธยาที่อำเภอบางบาล และมีแมน้ำปาสักไหลมาลงแมน้ำเจาพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                  ตอจากนั้นแมน้ำเจาพระยาไหลลงใตผานจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ลงสูอาวไทยที่

                  จังหวัดสมุทรปราการ
                              แมน้ำทาจีน เปนแมน้ำที่แยกตัวออกจากแมน้ำเจาพระยาฝงตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห
                  จังหวัดชัยนาท แมน้ำนี้ใชเปนคลองสงน้ำสายใหญของโครงการเขื่อนเจาพระยา เมื่อผานจังหวัดชัยนาท
                  เรียกวา“คลองมะขามเฒา” ผานจังหวัดสุพรรณบุรีเรียกวา“แมน้ำสุพรรณบุรี”เมื่อผานมาถึงจังหวัดนครปฐม

                  เรียกวา “แมน้ำนครชัยศรี” และเมื่อไหลลงสูอาวไทยที่จังหวัดสมุทรสาคร เรียกวา “แมน้ำทาจีน”
                                แมน้ำนอย เปนแมน้ำสาขาแยกจากแมน้ำเจาพระยาที่ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองชัยนาท
                  จังหวัดชัยนาท เปนแมน้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลผานอำเภอบางระจัน อำเภอคายบางระจัน และอำเภอทาชาง
                  จังหวัดสิงหบุรี ไหลผานจังหวัดอางทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แลวไปรวมกับแมน้ำเจาพระยาอีก

                  ครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                                แมน้ำลพบุรี ตนน้ำของแมน้ำลพบุรี อยูที่แมน้ำเจาพระยาบริเวณตำบลมวงหมู อำเภอ

                  เมืองสิงหบุรี จังหวัดสิงหบุรี ไหลมาทางตะวันออกผานอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงหบุรี อำเภอทาวุง และ
                  อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี กอนไหลลงไปทางใตเขาเขตอำเภอบานแพรก อำเภอมหาราช  อำเภอบางปะหัน

                  อำเภอนครหลวงและไหลมาบรรจบกับแมน้ำปาสักหนาตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด
                  พระนครศรีอยุธยา ถึงจะมาบรรจบกับแมน้ำเจาพระยาบริเวณหนาวัดพนัญเชิง ตำบลหอรัตนไชย
                  อำเภอและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                                แมน้ำปาสัก มีตนกำเนิดอยูบริเวณทิวเขาเพชรบูรณ ไหลผานจังหวัด ลพบุรี สระบุรี

                  พระนครศรีอยุธยา โดยมีหวยมวกเหล็ก ซึ่งมีตนน้ำอยูที่เขาอินทร อำเภอปากชอง จังหวัดนครราชสีมา แมน้ำ
                  ไดไหลผานจังหวัดสระบุรีมารวมกับแมน้ำปาสักฝงซายที่อำเภอแกงคอย จังหวัดสระบุรี ตอจากนั้นก็จะไหลลง
                  สูจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และไหลลงสูแมน้ำเจาพระยาฝงซายที่ปอมเพชร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                            แมน้ำสะแกกรัง เปนแมน้ำที่มีตนกำเนิดอยูในเขตเขาโมโกจู ในเขตอุทยานแหงชาติแมวงก
                  จังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปบรรจบกับแมน้ำเจาพระยา ที่บานทาซุง ตำบลทาซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี
                  จังหวัดอุทัยธานี







                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90