Page 28 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 28

2-10






                  2.3  ทรัพยากรที่ดิน

                        ทรัพยากรดินเปนทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญตอการดำรงชีพของประชากรไทย เนื่องจาก
                  ประเทศไทยเปนประเทศเกษตรกรรม ดินจึงเปนปจจัยหลักที่ชวยในการผลิตอาหารของมนุษยจาก
                  กระบวนการกำเนิดของดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแรธาตุตางๆ ผสมคลุกเคลากับอินทรียวัตถุ

                  น้ำและอากาศจนกลายเปนดิน ทำใหดินแตละแหงมีลักษณะตางกันเนื่องจากการกำเนิดดิน ที่แตกตาง
                  กันตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วัตถุตนกำเนิด ระยะเวลาและสวนผสมจากขอมูลของสิ่งมีชีวิต
                  ตางๆ เมื่อมีการใชประโยชนที่เกี่ยวเนื่องกับดินในการเพาะปลูก ดินแตละแหงจึงมีความเหมาะสม
                  แตกตางกันไปในแตละพืชตามลักษณะของดิน

                        จากขอมูลการสำรวจดินของกรมพัฒนาที่ดินที่ไดรวบรวมลักษณะและสมบัติตางๆ ของดินที่มี
                  ศักยภาพในการใชประโยชนที่ดินมารวมกันอยูเปนกลุมเดียวกัน สามารถจัดเปนหนวยแผนที่ดินได 62
                  กลุมชุดดิน นอกจากนี้ ยังไดจำแนกกลุมชุดดินยอยในแตละกลุมชุดดิน โดยแตละกลุมชุดดินยอยจะมี
                  ความแตกตางกันในดานตางๆ เชน ความลาดชันของพื้นที่ ความเปนกรดจัดรุนแรงของดิน การมีคราบ

                  เกลือปรากฏอยูบนผิวดิน เมื่อนำขอมูลดินมาจัดหมวดหมูลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพคลายคลึง
                  กันในดานที่มีผลตอการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตของพืช ลักษณะเนื้อดินและความลึกของดิน
                  จากขอมูลกลุมชุดดิน ไดจัดทำลักษณะและสมบัติของดิน โดยดำเนินการวิเคราะหขอมูลเพื่อใชพิจารณา
                  การปลูกมะเขือเทศในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถ

                  อธิบายรายละเอียดแยกตามลักษณะพื้นที่ได 4 กลุม คือ (1) กลุมชุดดินในพื้นที่ลุมหรือพื้นที่น้ำขัง
                  (2) กลุมชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยูในเขตดินแหง (3) กลุมชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยูในเขตดินชื้น
                  และ (4) กลุมชุดดินที่มีความลาดชันสูง มีรายละเอียดกลุมชุดดินที่พบดังนี้

                        1) กลุมชุดดินในพื้นที่ลุมหรือพื้นที่น้ำขัง เปนดินที่เกิดอยูในบริเวณพื้นที่ต่ำ การระบายน้ำของดิน
                  ไมดี สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือคอนขางราบเรียบ มักจะมีน้ำทวมขังที่ผิวดินในฤดูฝน และมักมีระดับน้ำใต

                  ดินตื้น พบกลุมชุดดินดังกลาวในทุกภาคของประเทศไทย ประกอบดวย กลุมชุดดินที่ 1  2  3  4  5  6  7
                  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  57  58  และ 59 มีลักษณะเดน
                  แยกตามกลุมดินเหนียว ดินที่มีการยกรอง ดินเปรี้ยวจัด ดินชายทะเล ดินทรายแปง ดินรวนละเอียด

                  และดินรวนหยาบรายละเอียดตามตารางที่ 2-6 อธิบายลักษณะของกลุมชุดดินที่พบไดดังนี้
                          กลุมชุดดินที่ 1

                            เปนกลุมชุดดินที่เกิดจากวัตถุตนกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ ในบริเวณเทือกเขาหินปูน
                  หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่เปนที่ราบลุม มีน้ำแชขังในชวงฤดูฝน เปนดินลึกที่มีการระบายน้ำเลวหรือ
                  คอนขางเลว เนื้อดินเปนพวกดินเหนียวจัดสีดำหรือสีเทาเขม มักพบจุดประสีน้ำตาล และสีเหลืองปนน้ำตาล

                  ในดินชั้นบน สวนดินชั้นลางสีเทาเขม และมักพบกอนปูนปะปนอยูในเนื้อดิน ในฤดูแลงแตกระแหงเปน
                  รองลึกเนื่องจากมีการยืดและหดตัวสูงเมื่อดินเปยกและแหง
                          - ปญหาในการใชที่ดินดานเกษตรกรรม ไดแก การไถพรวนลำบาก เนื่องจากเปนดินเหนียวจัดตอง
                  ไถพรวนในชวงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนน้ำไดงาย
                  เมื่อฝนทิ้งชวงนานกวาปกติ เนื่องจากน้ำที่ขังอยูจะซึมหายไปงาย เมื่อดินเริ่มแหงและแตกระแหงเปนรองลึก








                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33