Page 137 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 137

3-17





                        3.1.3 การจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                             จากหลักการของ FAO Framework ไดจำแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดิน เปน 2 อันดับ
                  (Order) 4 ชั้น (Class) โดยแสดงรายละเอียดไดดังนี้
                             1) อันดับ ประกอบดวย

                                1) อันดับที่เหมาะสม (Order S ; Suitability)
                                2) อันดับที่ไมเหมาะสม (Order N ; Not suitability)
                             2) ชั้น ประกอบดวย
                                S1  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)
                                S2  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)

                                S3  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กนอย (Marginally suitable)
                                 N  :  ชั้นที่ไมมีความเหมาะสม (Not suitable)
                            3) ชั้นยอยเปนชั้นที่แสดงอิทธิพลของการเจริญเติบโตของพืช ประกอบดวย
                              (1) ความชุมชื้นที่เปนประโยชนตอพืช (Moisture availability : m)
                              (2) ความเปนประโยชนของออกซิเจนตอรากพืช (Oxygen availability : o)

                              (3) ความเปนประโยชนของธาตุอาหาร (Nutrient availability : s)
                              (4) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity : n)
                              (5) ความเสียหายจากน้ำทวม (Flood hazard : f)
                              (6) ความเสียหายจากการกัดกรอน (Erosion hazard : e)
                            วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินหรือประเมินความเหมาะสมของที่ดินสำหรับมะเขือเทศนั้น
                  ใชวิธีการจับคูเพื่อประเมินความเหมาะสมระหวางความตองการของประเภทการใชที่ดินกับคุณภาพที่ดิน
                  โดยพิจารณาวา มะเขือเทศมีความตองการคุณภาพที่ดินเหมาะสมอยูในระดับใด ตามชนิดของหนวยที่ดิน

                  ที่พบในพื้นที่ สำหรับหนวยที่ดินผสมจะทำการประเมินคุณภาพที่ดินโดยประเมินจากคุณลักษณะที่ดิน
                  ที่มีขอจำกัดรุนแรงที่สุดที่มีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตของพืช
                             จากตารางคุณสมบัติหนวยที่ดิน (ตารางที่ 3-2) เมื่อนำมาประเมินรวมกับ (Matching) ระดับความ

                  ตองการปจจัยการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ (ตารางที่ 3-1) สามารถประเมินความเหมาะสมของที่ดินโดย
                  พบวา ประเทศไทยมีพื้นที่มีชั้นความเหมาะสมตามศักยภาพของหนวยที่ดินในการปลูกมะเขือเทศรวมทั้งหมด
                  170,216,102 ไร หรือรอยละ 27.07 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ มีรายละเอียดศักยภาพชั้นความเหมาะสมของ

                  หนวยที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ ดังตารางที่ 3-3 และ (รูปที่ 3-1 ถึงรูปที่ 3-6) ดังนี้
                                 1) พื้นที่ที่มีชั้นความเหมาะสมสูง (S1) ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ 13,394,042 ไร หรือรอยละ 7.87
                  ของพื้นที่ที่มีชั้นความเหมาะสมทั้งประเทศ ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 5,777,354 ไร หรือรอยละ 43.13 ของพื้นที่
                  ที่มีชั้นความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 3,871,264 ไร หรือรอยละ 28.90 ของพื้นที่
                  ที่มีชั้นความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ ภาคกลาง มีเนื้อที่ 2,270,889 ไร หรือรอยละ 16.95 ของพื้นที่

                  ที่มีชั้นความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ ภาคตะวันออก มีเนื้อที่ 354,517 ไร หรือรอยละ 2.66 ของพื้นที่
                  ที่มีชั้นความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ และภาคใต มีเนื้อที่ 1,120,018 ไร หรือรอยละ 8.36 ของพื้นที่ที่
                  มีชั้นความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ








                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                             กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142