Page 58 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 58

2-40





                  2.5  การใช้ประโยชน์ที่ดิน

                        2.5.1 สภาพการใช้ที่ดิน
                            จากการศึกษาสภาพการใช้ที่ดินปี 2561 ของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า มีพื้นที่ปลูกยาสูบ

                  ทั้งหมด 231,047 ไร่ โดยปลูกในเขตป่าตามกฎหมาย เนื้อที่ 227,771 ไร่ หรือร้อยละ 98.58 ของพื้นที่
                  ปลูกยาสูบทั้งประเทศ และปลูกในเขตเกษตรกรรมเนื้อที่ 3,276 ไร่ หรือร้อยละ 1.42 ของพื้นที่ปลูก
                  ยาสูบทั้งประเทศ ดังแสดงในตารางที่ 2-9 (รูปที่ 2-1) แสดงรายละเอียดเป็นรายภาคได้ดังนี้
                            1) ภาคเหนือ

                              มีพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งหมด 162,095 ไร่ โดยปลูกในเขตป่าตามกฎหมาย เนื้อที่ 161,156 ไร่
                  หรือร้อยละ 99.42 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคเหนือ และปลูกในเขตเกษตรกรรมเนื้อที่ 939 ไร่ หรือร้อยละ 0.58
                  ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคเหนือ จังหวัดที่ปลูกยาสูบมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย มีเนื้อที่ 66,533 ไร่
                  หรือร้อยละ 41.05 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคเหนือ รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 47,588 ไร่

                  หรือร้อยละ 29.36 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคเหนือ และจังหวัดแพร่ มีเนื้อที่ 23,300 ไร่ หรือร้อยละ
                  14.37 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคเหนือ ตามล าดับ
                            2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                              มีพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งหมด 68,729 ไร่ โดยปลูกในเขตป่าตามกฎหมาย เนื้อที่ 66,392 ไร่

                  หรือร้อยละ 96.60 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปลูกในเขตเกษตรกรรมเนื้อที่
                  2,337 ไร่ หรือร้อยละ 3.40 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกยาสูบมากที่สุด ได้แก่
                  จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ 36,056 ไร่ หรือร้อยละ 52.46 ของพื้นที่ปลูกยาสูบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  รองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 25,143 ไร่ หรือร้อยละ 36.58 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  และจังหวัดบึงกาฬ มีเนื้อที่ 4,513 ไร่ หรือร้อยละ 6.57 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ตามล าดับ
                            3) ภาคกลาง
                              มีพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งหมด 223 ไร่ โดยปลูกในเขตป่าตามกฎหมาย เนื้อที่ 223 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 100.00 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคกลาง จังหวัดที่ปลูกยาสูบ คือ จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ 223 ไร่
                  หรือร้อยละ 100.00 ของพื้นที่ปลูกยาสูบภาคกลาง
                        2.5.2 สภาพการปลูกยาสูบแต่ละสายพันธุ์ในแต่ละภาค

                            จากข้อมูลการเพาะปลูกยาสูบของ สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้ ฝ่ายใบยา การยาสูบแห่ง
                  ประเทศไทย (2561) และกรมสรรพสามิตนั้น ได้ศึกษาวิธีการจัดการยาสูบแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งมี
                  รายละเอียดดัง ภาคผนวก ก-2 และมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
                            1) สายพันธุ์เวอร์ยิเนีย เป็นสายพันธุ์ที่มีลักษณะดินที่เหมาะสมต่อการปลูก คือ ดินร่วนหรือ

                  ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนเหนียวเล็กน้อย การระบายน้ าดี มีความชื้นหรืออุ้มน้ าได้ดี หน้าดินลึก ดินมี
                  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ดินควรมีอินทรียวัตถุ 1.0-2.0  เปอร์เซ็นต์  มีปริมาณคลอไรด์ได้ไม่เกิน
                  15 ppm ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
                  อยู่ในช่วง 24-32 องศาเซลเซียส ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนอยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์

                  ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 50-70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ าฝนต่อปี ประมาณ 700-1,200 มิลลิเมตร
                  แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกเป็นพืชหลังนา ในเขตพื้นที่ชลประทาน ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63