Page 5 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 5
ค ำน ำ
ยาสูบ นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความส าคัญของไทยพืชหนึ่งที่สามารถท ารายได้ให้กับ
ประเทศไทยหลายล้านบาทต่อปี สามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือนเกษตรกรค่อนข้างสูงกว่าการปลูก
พืชอายุสั้นอื่นๆ เนื่องจากมีการประกันราคาที่ค่อนข้างสูง มีการส่งเสริมการเพาะปลูกยาสูบตามแนวทางการ
ปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้การผลิตใบยาสูบเป็นไปตามคุณภาพที่ก าหนด และเป็นไป
ตามมาตรฐานที่ยอมรับของตลาดใบยาสูบระดับสากล แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการผลิตและการตลาด
ยาสูบที่มีความมั่นคง อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่รัฐมีการออกนโยบายในการเก็บภาษีใบยาเพิ่มขึ้น การยาสูบ
แห่งประเทศไทยมีการลดโควตารับซื้อใบยาสูบในอนาคตลง และวางแผนเพื่อลดพื้นที่ปลูกยาสูบ ส่งผลให้
พื้นที่ปลูกยาสูบของประเทศไทยลดลง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องพัฒนาพื้นที่ปลูกยาสูบปัจจุบันที่เหลืออยู่
ให้มีผลิตภาพสูงสุด กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จึงจัดท าโครงการเขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจยาสูบที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตรทั้งระบบขึ้น
การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบจัดท าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน
ชั้นความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐและสภาพเศรษฐกิจสังคม
ของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ โดยก าหนดเป็นเขตความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกยาสูบในระดับต่างๆ
ทั้งนี้ได้จัดท าฐานข้อมูลพร้อมแผนที่เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจ ได้น าไปใช้ประโยชน์ส าหรับ
ก าหนดแผนงานและนโยบายการพัฒนาพืชเศรษฐกิจยาสูบได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผล
ต่อเกษตรกรและประเทศชาติ
คณะผู้จัดท าขอขอบคุณหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดท า
โครงการเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ ได้แก่ การยาสูบแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมสรรพสามิต กรมวิชาการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา
กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ
เกษตรกรผู้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็น ทัศนคติ และข้อมูลต่างๆ ที่สามารถน ามาใช้ในการวิเคราะห์
เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบได้เป็นอย่างดียิ่ง
คณะผู้จัดท ำรำยงำน
2562