Page 189 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 189

3-95






                  3.2  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม

                        ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุหลายปีและการท าสวนส้มโอเป็นการลงทุนระยะยาวซึ่งมีค่าใช้จ่าย
                  ในการลงทุนสูงและให้ผลตอบแทนได้หลายปีติดต่อกัน เกษตรกรจ าเป็นต้องมีการดูแลและบ ารุงรักษา

                  ส้มโอที่ปลูกอย่างจริงจังและสม ่าเสมอตลอดเวลา การปลูกส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ป ี ใน

                  ระยะแรกผลผลิตจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นปริมาณผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้นตามล าดับอายุ
                  จนถึงระยะที่ส้มโอมีอายุมากปริมาณผลผลิตจะลดลง เกษตรกรต้องปลูกทดแทนใหม่หรือบางรายอาจ

                  เปลี่ยนเป็นพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูงกว่า การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและสังคมของ

                  การผลิตส้มโอได้ก าหนดอายุของส้มโอที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล 20 ปี กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร
                  และกลุ่มวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน ้า กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ได้ด าเนินการส ารวจ

                  ข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนโดยจ าแนกตามความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินของพื้นที่ปลูก

                  ส้มโอทั้งประเทศ ทั้งนี้ได้แบ่งศึกษาเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การใช้ปัจจัยในการผลิต ส่วนที่ 2

                  ต้นทุนการผลิต มูลค่าผลผลิต (รายได้) และผลตอบแทนจากการผลิต ส่วนที่ 3 ปัญหาความต้องการ
                  ความช่วยเหลือจากรัฐและทัศนคติของเกษตรกรผู้ผลิตส้มโอ ข้อมูลที่ใช้ศึกษาได้จากการส ารวจ

                  เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตที่ส าคัญของแต่ละภาค ทั้งนี้จ าแนกการศึกษา

                  ตามความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินที่ส ารวจตัวอย่างเกษตรกรผู้ผลิตส้มโอไว้ 2 ระดับ คือ
                  พื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมเฉพาะทางกายภาพสูง (S1) และพื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมเฉพาะทางกายภาพ

                  ปานกลาง (S2) และจ าแนกตามแหล่งการผลิตที่ส าคัญ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนปัญหาความต้องการและทัศนคติของเกษตรกรจะศึกษาใน

                  ภาพรวมจ าแนกตามภาค รายละเอียดผลการวิเคราะห์ดังหัวข้อต่อไปนี้

                        3.2.1  การใช้ปัจจัยในการผลิต

                             การจัดการสวนส้มโอด้วยการดูแลรักษาที่ดีตลอดจนการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณ
                  ที่เหมาะสมกับสภาพดินจะส่งผลให้ส้มโอให้ปริมาณผลผลิตในแต่ละช่วงอายุเป็นไปตามศักยภาพ

                  ของที่ดิน ซึ่งจะท าให้เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงนัก ทั้งสามารถลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิต

                  ในปัจจุบันบางชนิดลงได้อีก โดยการใช้ปุ๋ ยอินทรีย์และสารอินทรีย์ทดแทนปุ๋ ยเคมีและสารเคมี
                  บางส่วน ท าให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต

                  ส้มโอซึ่งแยกเป็นทั้งประเทศ และรายภาค ดังนี้

                             1)  ปัจจัยการผลิตทั งประเทศ

                                จากผลการส ารวจในปีการผลิต 2559 พบว่า เกษตรกรมีเนื้อที่เพาะปลูกเฉลี่ย
                  3.19 ไร่ต่อครัวเรือน ขนาดของเนื้อที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสวนขนาดเล็ก การดูแลรักษา พบว่า มีการใช้







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194