Page 181 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 181

3-87





                        3.1.3  การจัดชั นความเหมาะสมของที่ดิน

                             จากหลักการของ  FAO  Framework  ได้จ าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดิน เป็น  2  อันดับ

                  (Order) 4 ชั้น (Class) โดยแสดงรายละเอียดได้ดังนี้

                             1)  อันดับ ประกอบด้วย
                                1) อันดับที่เหมาะสม (Order S ; Suitability)

                                2) อันดับที่ไม่เหมาะสม (Order N ; Not suitability)

                             2)  ชั้น ประกอบด้วย

                                S1  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)
                                S2  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)

                                S3  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable)

                                 N  :  ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)
                            3)  ชั้นย่อยเป็นชั้นที่แสดงอิทธิพลของการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย

                                (1) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability : m)
                              (2) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability : o)

                              (3) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability : s)
                              (4) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity : n)

                                (5) ความเสียหายจากน ้าท่วม (Flood hazard : f)
                              (6) ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard : e)

                           วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินหรือประเมินความเหมาะสมของที่ดินส าหรับส้มโอนั้น ใช้วิธีการ
                  จับคู่เพื่อประเมินความเหมาะสมระหว่างความต้องการของประเภทการใช้ที่ดินกับคุณภาพที่ดิน โดย

                  พิจารณาว่า ส้มโอมีความต้องการคุณภาพที่ดินเหมาะสมอยู่ในระดับใด ตามชนิดของหน่วยที่ดินที่พบใน

                  พื้นที่ ส าหรับหน่วยที่ดินผสมจะท าการประเมินคุณภาพที่ดินโดยประเมินจากคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจ ากัด

                  รุนแรงที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช
                           จากตารางคุณสมบัติหน่วยที่ดิน (ตารางที่ 3-2) เมื่อน ามาประเมินร่วมกับ (Matching) ระดับความ

                  ต้องการปัจจัยการเจริญเติบโตของส้มโอ (ตารางที่ 3-1) สามารถประเมินความเหมาะสมของที่ดินโดยพบว่า

                  ประเทศไทยมีพื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกส้มโอรวมทั้งหมด 87,541,043 ไร่ หรือร้อยละ 27.07 ของ
                  เนื้อที่ทั้งประเทศ มีรายละเอียดความเหมาะสมของที่ดินกับการปลูกพืชเศรษฐกิจส้มโอ ดังตารางที่ 3-3

                  และรูปที่ 3-2 ถึง รูปที่ 3-7 ดังนี้


                           1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ทั้งประเทศมีเนื้อที่ 11,860,687  ไร่ หรือร้อยละ 13.55 ของ
                  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ ภาคเหนือมีเนื้อที่ 1,708,055 ไร่ หรือร้อยละ 14.40 ของพื้นที่ที่มีความ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186