Page 54 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 54

2-40






                           หน่วยที่ดิน 52B  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 52 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น

                  ลอนลาดเล็กน้อย

                           หน่วยที่ดิน 52C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 52 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด
                           หน่วยที่ดิน 52D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 52 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน


                        กลุ่มชุดดินที่ 53

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้และภาคตะวันออก เกิดจากการสลายตัวผุพัง

                  อยู่กับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของ
                  วัสดุเนื้อละเอียดที่มาจากพวกหินตะกอนหรือหินแปร พบบริเวณพื้นที่ดอน เป็นดินลึกปานกลาง

                  มีการระบายนํ้าดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียวทับอยู่บนดินเหนียว ส่วนดินล่าง

                  ในระดับความลึกระหว่าง 50-100  เซนติเมตร  เป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือดินปนเศษหินผุ สีดินเป็น
                  สีนํ้าตาลอ่อน สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก

                  ถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5

                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ในบริเวณพื้นที่ที่มี
                  ความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย

                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 53 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 53 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
                           หน่วยที่ดิน 53B  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 53 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น

                  ลอนลาดเล็กน้อย

                           หน่วยที่ดิน 53C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 53 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                           หน่วยที่ดิน 53D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 53 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน
                           หน่วยที่ดิน 53E คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 53 มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขา


                        กลุ่มชุดดินที่ 54

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้าย
                  มาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นกําเนิดดินที่เป็นพวกหินอัคนี เช่น บะซอลต์ แอนดีไซต์

                  พบบริเวณพื้นที่ดอน มักอยู่ใกล้กับบริเวณเทือกเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ เป็นดินลึกปานกลาง

                  มีการระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว โดยปกติจะมีก้อนปูนหรือ
                  เศษหินที่กําลังผุพังสลายตัวปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย ในชั้นดินล่างลึกๆ อาจพบชั้นปูนมาร์ล สีดินเป็น

                  สีเทาเข้มหรือสีนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาลปนแดง ชั้นดินล่างอาจมีจุดประสีเหลืองและสีแดง ดินมีความ










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59