Page 37 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 37

2-23






                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 26 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 26 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                           หน่วยที่ดิน 26B  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 26 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                  ลอนลาดเล็กน้อย

                           หน่วยที่ดิน 26C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 26 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                           หน่วยที่ดิน 26D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 26 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน

                           หน่วยที่ดิน 26E คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 26 มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขา

                        กลุ่มชุดดินที่ 27

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคตะวันออก เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินภูเขาไฟ

                  พวกหินบะซอลต์ พบบริเวณพื้นที่ดอน เป็นดินลึกมาก มีการระบายนํ้าดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว
                  ที่ค่อนข้างร่วนซุยและมีโครงสร้างดี สีดินเป็นสีนํ้าตาลปนแดงหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                  ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5

                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ดินมีความสามารถในการซาบซึมนํ้าเร็ว จึงมักจะ
                  ขาดแคลนนํ้าได้ง่ายถ้าหากฝนทิ้งช่วง

                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 27 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 27 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
                           หน่วยที่ดิน 27B  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 27 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น

                  ลอนลาดเล็กน้อย

                           หน่วยที่ดิน 27C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 27 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                           หน่วยที่ดิน 27D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 27 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน

                        กลุ่มชุดดินที่ 28

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลํานํ้าหรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือเกิดจากการ

                  สลายตัวแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นกําเนิดดินที่มาจากหินต้นกําเนิดพวกหินบะซอลต์หรือ
                  หินแอนดีไซต์ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่อยู่ใกล้กับเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ เป็นดินลึก มีการระบายนํ้า

                  ดีปานกลางถึงดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง

                  และมีรอยไถลในดิน สีดินเป็นสีดํา สีเทาเข้มหรือสีนํ้าตาล อาจพบจุดประสีนํ้าตาลหรือสีแดงปนนํ้าตาล
                  ปริมาณเล็กน้อยในดินชั้นบน ส่วนชั้นดินล่างอาจพบชั้นปูนมาร์ล ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

                  ปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่จะเป็นกลางถึงเป็นด่างจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0-8.5










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42