Page 20 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่
P. 20
2-6
ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดชัยภูมิและนครราชสีมา และภาคกลาง ส าหรับภาคใต้มีฝนตกชุก
เกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อน บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน
ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝน
มากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุด
ของภาคใต้อยู่บริเวณจังหวัดระนองซึ่งมีปริมาณฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่
ที่มีปริมาณฝนน้อย ได้แก่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัดชุมพร
และสุราษฎร์ธานี
2.2.4 ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน ้าที่มีอยู่จริงในอากาศเทียบกับมวลของ
ไอน ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักก าหนดค่าเป็นร้อยละ โดยประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน
ใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่า
ดังนี้ ภาคเหนือ มีค่าร้อยละ 74.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าร้อยละ 71.8 ภาคกลาง มีค่าร้อยละ 73.6
ภาคตะวันออก มีค่าร้อยละ 76.0 และภาคใต้ มีค่าร้อยละ 80.2
2.2.5 อุณหภูมิ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนสภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่า ดังนี้ ภาคเหนือ มีค่า 26.3 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีค่า 26.7 องศาเซลเซียส ภาคกลาง มีค่า 27.9 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก มีค่า 27.5 องศาเซลเซียส
และภาคใต้ มีค่า 27.2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินตั้งแต่ภาคตะวันออกทางตอนบนและภาคกลางขึ้นไปจนถึงภาคเหนือ
จะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวและระหว่างกลางวันกับกลางคืน ส าหรับ
พื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกทางตอนล่างและภาคใต้ ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวัน
และฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไป
ในแผ่นดิน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน