Page 147 - durian
P. 147

3-73






                  ตารางที่ 3-29  (ต่อ)
                                             ผลผลิต    ต้นทุนทั้งหมด            รายได้   ผลตอบแทนสุทธิ
                             ปีที่                                    ราคา
                                           (กก./ไร่/ปี)   (บาท/ไร่/ปี)        (บาท/ไร่/ปี)   (บาท/ไร่/ปี)
                     16 ขึ้นไป               1,150.00      23,571.67   101.04   116,196.00     92,624.33

                     รวม                    26,021.77     424,137.23         2,629,239.66   2,205,102.43
                     NPV (r=7%)                           175,239.79         1,065,426.02     890,186.23

                     ค่าเฉลี่ยต่อปี (CRF=0.0858)   1,236.13   15,035.57        91,413.55       76,377.98
                                    B/C =   6.08              IRR =  78.45%    จุดคุ้มทุน =  ปีที่ 5

                  ที่มา :  วิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นที่ส ารวจโดยกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร และกลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2560)

                                เมื่อเปรียบเทียบต้นทุน รายได้และผลตอบแทนการผลิตทุเรียนในฤดู และนอกฤดู
                  จ าแนกตามภาคและระดับความเหมาะสมของพื้นที่ปีการผลิต 2559 จะเห็นได้ว่า การผลิตทุเรียนในฤดู

                  ของภาคตะวันออกในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีต้นทุนการผลิตมากที่สุดไร่ละ

                  21,770.15 บาท การผลิตทุเรียนทั้งสองภาคมีต้นทุนผันแปรที่เป็นค่าแรงงานมีค่าใช้จ่ายมากที่สุดคิด
                  เป็นร้อยละ 50.52-63.04 ของต้นทุนผันแปร การผลิตทุเรียนในฤดูของภาคตะวันออกในพื้นที่ที่มีระดับ

                  ความเหมาะสมสูง (S1) ได้ผลผลิตมากที่สุดคือ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,493.17 กิโลกรัม ทั้งสองภาคมี

                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่า 1 (3.62-9.65) แสดงว่า ทุกช่วงอายุที่ทุเรียนให้ผลผลิต

                  เกษตรกรจะได้รับผลก าไรจากการลงทุน (ตารางที่ 3-30)

                        3.2.3  ปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและทัศนคติของเกษตรกรในการผลิตทุเรียน

                            1)  ปัญหาการผลิต
                              จากการศึกษาปัญหาการผลิตทุเรียนของเกษตรกรพบว่า การผลิตทุเรียนในฤดูของ

                  ภาคตะวันออกและภาคใต้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาโรคพืชระบาด (ภาคตะวันออกร้อยละ 47.14 และ

                  ภาคใต้ร้อยละ 78.29) รองลงมาได้แก่ ศัตรูพืชรบกวน (ภาคตะวันออกร้อยละ 41.85 และภาคใต้ร้อยละ
                  46.05) การผลิตทุเรียนนอกฤดูของภาคใต้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาศัตรูพืชรบกวนร้อยละ 60.00

                  รองลงมาได้แก่ วัชพืชรบกวนร้อยละ 46.67 (ตารางที่ 3-31)
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152