Page 9 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้
P. 9
1-1
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
โกโก้ เป็นพืชทางเลือกที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการอนาคตมากเพิ่มขึ้น การผลิตโกโก้ของ
ประเทศในช่วงปี 2559-2563 นั้น ไทยมีพื้นที่โกโก้ยืนต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 148.16 ต่อปี (จาก 150 ไร่ ในปี
2559 เป็น 5,912 ไร่ ในปี 2563) ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 109.04 ต่อปี (จาก 455.47 ตัน ในปี 2559
เป็น 859.25 ตัน ในปี 2563) สถานการณ์ด้านการตลาดโกโก้ไทย มีการน าเข้าเมล็ดโกโก้ในช่วงปี 2558-
2562 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.72 ต่อปี และในปี 2562 มีปริมาณการน าเข้า 980.20 ตัน ส่วนใหญ่น าเข้า
จากประเทศคองโก และกินี ด้านการน าเข้าผลิตภัณฑ์โกโก้ของไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 โดยปี 2562
น าเข้าปริมาณ 44,278 ตัน ส่วนใหญ่น าเข้าจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์
โกโก้ที่ไทยน าเข้ามากที่สุด คือ ช็อกโกแลต และอาหารปรุงแต่งที่มีโกโก้ รองลงมาคือ ผงโกโก้ที่ไม่เติม
น้ าตาลหรือสารท าให้หวานอื่นๆ โกโก้เพสต์ (Cacao Paste) และโกโก้บัตเตอร์ (Cocoa Butter)
(ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) ด้านการส่งออกเมล็ดโกโก้ของไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 809.67 ในปี
2562 มีปริมาณการส่งออก 925.57 ตัน ประเทศส่งออกที่ส าคัญ ได้แก่ อินเดีย ลาว และญี่ปุ่น แต่การ
ส่งออกผลิตภัณฑ์โกโก้ลดลง ร้อยละ 11 ในปี 2562 ส่งออก ปริมาณ 19,063 ตัน ประเทศส่งออกของที่
ส าคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เมียนมาร์ และมาเลเซีย ผลิตภัณฑ์โกโก้ที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ช็อกโกแลต และ
อาหารปรุงแต่งอื่นๆ ที่มีโกโก้ รองลงมาคือ ผงโกโก้ที่ไม่เติมน้ าตาล หรือสารที่ท าให้หวานอื่นๆ โกโก้
เพสต์ และโกโก้บัตเตอร์
อย่างไรก็ตาม ตลาดโกโก้ ในประเทศไทยยังมีความต้องการโกโก้จ านวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อ
ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าตลาดโกโก้ในประเทศมีโอกาสขยายตัวมาก หากจะมีการส่งเสริมให้มีการปลูก
โกโก้ช่วงเริ่มต้นควรท าในรูปแบบเกษตรพันธสัญญา และภาครัฐควรให้การสนับสนุนในการพัฒนา
สายพันธุ์โกโก้ที่มีคุณภาพที่สามารถน าไปสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากโกโก้
ต่อไป
จากเหตุผลดังกล่าวโกโก้เป็นพืชทางเลือกที่มีอนาคตทางการตลาดที่ส าคัญชนิดหนึ่ง กองนโยบาย
และแผนการใช้ที่ดินจึงได้จัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้ขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหาร
จัดการที่เหมาะสม รวมไปถึงการผลิตโกโก้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการก าหนด
บริเวณการใช้ที่ดินได้ให้ความส าคัญกับลักษณะทางกายภาพ เน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกโกโก้ให้
ตรงตามศักยภาพของที่ดิน และส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกโกโก้เป็นพืชทดแทน
พืชเดิมที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ปริมาณผลผลิตมีความสอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาด
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้ กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน