Page 80 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2565
P. 80

70








                            2.7.2 พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 4,192,824 ไร่ หรือร้อยละ 58.69 ของเนื้อที่จังหวัด
                       โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พืชไร่ ไม้ยืนต้น พื้นที่นา ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สถานที่
                       เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
                                  1) พื้นที่นา (A1) มีเนื้อที่ 508,477 ไร่ หรือร้อยละ 7.11 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ นาข้าว

                       มีเนื้อที่ 454,371 ไร่ นาร้าง มีเนื้อที่ 3,465 ไร่ ปลูกมากในพื้นที่อําเภอเมืองเลย อําเภอวังสะพุงและ
                       อําเภอท่าลี่ ปลูกกระจายทั่วทุกอําเภอของจังหวัด และยังพื้นที่นาที่มีการปลูกพืชตามหลังทํานาด้วย
                       เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง พืชผัก เป็นต้น
                                  2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 1,842,286 ไร่ หรือร้อยละ 25.80 ของเนื้อที่จังหวัด พืชไร่ที่มี

                       ความสําคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดเลย ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง สับประรด ข้าวไร่ ขิง
                       และกะหล่ําปลี
                                      (1) ข้าวโพด (A202) มีเนื้อที่ 690,268 ไร่ หรือร้อยละ 9.67 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอด่านซ้าย อําเภอภูเรือ และอําเภอ

                       ปากชม เนื่องจากมีโรงงานและแหล่งรับซื้อขนาดใหญ่รองรับซื้อผลผลิตเป็นจํานวนมาก ได้แก่
                       ห้างหุ้นส่วนไทรงาม จํากัด บริษัท กิจรุ่งโรจน์ พืชผล และเอราวัณพืชผล
                                      (2) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 659,072 ไร่ หรือร้อยละ 9.23 ของเนื้อที่จังหวัด

                       พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวังสะพุง อําเภอผาขาว
                       และอําเภอเอราวัณ เนื่องจากมีโรงงานน้ําตาลขนาดใหญ่รองรับผลผลิต 2 โรงงาน คือ โรงงานน้ําตาล
                       ขอนแก่น โรงงานน้ําตาลมิตรภูหลวง ซึ่งทั้ง 2 โรงงานตั้งอยู่ในอําเภอวังสะพุง
                                      (3) มันสําปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 377,865 ไร่ หรือร้อยละ 5.29 ของเนื้อที่
                       จังหวัด พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอท่าลี่ อําเภอเมืองเลย

                       และอําเภอเชียงคาน โดยมี บริษัท จ.เจริญมาร์เก็ตติ้ง จํากัด ตั้งอยู่ในอําเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นแหล่งรับ
                       ซื้อและแปรรูปผลผลิตจากมันสําปะหลัง
                                      (4) สับประรด (A205) มีเนื้อที่ 25,891 ไร่ หรือร้อยละ 0.36 ของเนื้อที่จังหวัด

                       พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอนาแห้ว อําเภอด่านซ้ายและ
                       อําเภอเมืองเลย
                                      (5) ข้าวไร่ (A216) มีเนื้อที่ 7,397 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอด่านซ้าย อําเภอภูหลวง

                       และอําเภอนาแห้ว
                                      (6) กะหล่ําปี (A223) มีเนื้อที่ 6,581 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบพื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอด่านซ้าย และอําเภอนาด้วง
                                  3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 1,431,311 ไร่ หรือร้อยละ 20.04 ของเนื้อที่จังหวัด ไม้ยืน

                       ต้นที่สําคัญของจังหวัด ได้แก่ ยางพารา สัก ปาล์มน้ํามัน ยูคาลิปตัส และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
                                      (1) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 1,300,930 ไร่ หรือร้อยละ 18.22 ของเนื้อที่
                       จังหวัด เป็นพืชที่มีการปลูกกันอย่างกว้างขวางกระจายทั่วจังหวัด แหล่งผลิตที่สําคัญ ได้แก่ อําเภอ
                       เมืองเลย อําเภอปากชม และอําเภอวังสะพุง โดยมีแหล่งรับซื้อและโรงงานแปรรูปยางพารา
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85