Page 72 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2565
P. 72

62








                                      (3) ปาล์มน้ํามัน (A303) มีเนื้อที่ 3,393 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด โดยมี
                       พื้นที่ปลูกอยู่ในอําเภอหนองพอก อําเภอโพธิ์ชัย อําเภอโพนทอง อําเภอเสลภูมิ อําเภอเมยวดี อําเภอ
                       สุวรรณภูมิ อําเภออาจสามารถ อําเภอเกษตรวิสัย อําเภอจตุรพักตรพิมาน อําเภอเมืองร้อยเอ็ด
                       อําเภอธวัชบุรี อําเภอเมืองสรวง อําเภอพนมไพร และอําเภอเชียงขวัญ

                                      (4) ไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม (A300) มีเนื้อที่ 2,494 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของเนื้อที่
                       จังหวัด
                                      (5) ไม้ยืนต้นผสม (A301) มีเนื้อที่ 1,422 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  4) ไม้ผล (A4) มีเนื้อที่ 33,089 ไร่ หรือร้อยละ 0.63 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่เป็น

                       พื้นที่ปลูกไม้ผลผสม โดยมีไม้ผลที่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ มะม่วง และไม้ผลอื่นๆ
                                      (1) ไม้ผลผสม (A401) มีเนื้อที่ 28,430 ไร่ หรือร้อยละ 0.55 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในพื้นที่อําเภอเกษตรวิสัย อําเภอ
                       หนองพอก อําเภอเมืองร้อยเอ็ด อําเภอจตุรพักตรพิมาน และอําเภอโพนทอง ทั้งนี้ พบว่า จังหวัด

                       ร้อยเอ็ดมีพื้นที่ปลูกอินทผลัมเพิ่มมากขึ้น อําเภอที่มีการปลูกอินทผลัมมากที่สุด อําเภอหนองพอก
                       อําเภอสุวรรณภูมิ อําเภอโพธิ์ชัย อําเภอโพนทอง และอําเภอทุ่งเขาหลวง
                                      (2) มะม่วง (A407) มีเนื้อที่ 3,013 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด อําเภอ

                       ที่มีการปลูกมะม่วงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอโพนทอง อําเภอหนองพอก อําเภอเสลภูมิ อําเภอเกษตรวิสัย
                       และอําเภออาจสามารถ
                                      (3) ไม้ผลอื่น ๆ มีเนื้อที่ 1,646 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
                       ไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรมส้ม มะม่วงหิมพานต์ กล้วย มะขาม มะนาว ลําไย มะพร้าว แก้วมังกร มะละกอ
                       ทุเรียน ฝรั่ง พุทรา ขนุน ส้ม น้อยหน่า เงาะ กระท้อน และมะกอกน้ํา มะกอกฝรั่ง

                                  5) พืชสวน (A5) มีเนื้อที่ 3,691 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่
                       คือพืชผัก มีเนื้อที่ 3,538 ไร่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ปลูกพืชสวนอื่นๆ ได้แก่ พืชสวนร้าง/เสื่อมโทรม
                       พืชสวนผสม หวาย พืชสมุนไพร เห็ด และไม้ดอก ไม้ประดับ

                                  6) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ (A7) มีเนื้อที่ 6,866 ไร่ หรือร้อยละ 0.12
                       ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงสุกร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก โรงเรือนเลี้ยงโค
                       กระบือ และม้า และโรงเรือนร้าง
                                  7) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา (A9) มีเนื้อที่ 10,601 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของเนื้อที่

                       จังหวัด ประกอบด้วยสถานที่เพาะเลี้ยงปลา สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําผสม
                       และสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําร้าง
                                  8) เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม (A0) มีเนื้อที่ 2,710 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของเนื้อที่
                       จังหวัด

                            2.6.3 พื้นที่ป่าไม้ (F) มีเนื้อที่ 267,187 ไร่ หรือร้อยละ 5.16 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                       ป่าไม่ผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู ป่าไม่ผลัดใบสมบูรณ์ ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู และป่าผลัดใบสมบูรณ์
                       ซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ มีเนื้อที่ 158,045 ไร่ หรือร้อยละ 3.05 ของเนื้อที่จังหวัด
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77