Page 30 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2565
P. 30

20








                       2.2 สภาพการใช้ที่ดินจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2565

                            จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ทั้งหมด 7,986,429 ไร่ สามารถจําแนกประเภทการใช้ที่ดินออกเป็น
                       5 ประเภท คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) มีเนื้อที่ 335,605 ไร่ หรือร้อยละ 4.18 ของเนื้อที่
                       จังหวัด พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 4,454,155 ไร่ หรือร้อยละ 55.78 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ป่าไม้
                       (F) มีเนื้อที่ 2,698,039 ไร่ หรือร้อยละ 33.78 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่น้ํา (W) มีเนื้อที่ 228,832 ไร่ หรือ

                       ร้อยละ 2.87 ของเนื้อที่จังหวัด และพื้นที่เบ็ดเตล็ด (M) มีเนื้อที่ 269,798 ไร่ หรือร้อยละ 3.39
                       ของเนื้อที่จังหวัด โดยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แต่ละประเภทมีรายละเอียด (ภาพที่ 2 และตารางที่ 2)
                       ดังนี้
                            2.2.1 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) มีเนื้อที่ทั้งหมด 335,605 ไร่ หรือร้อยละ 4.18 ของเนื้อที่

                       จังหวัด ประกอบด้วยตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้านจัดสรรร้าง หมู่บ้าน สถานที่ราชการและ
                       สถาบันต่าง ๆ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้แก่ สนามบิน โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับซื้อ
                       ทางการเกษตร สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สนามกอล์ฟ ป่าช้า สถานีบริการน้ํามัน และสถานที่ร้าง

                       ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                                  1) ตัวเมืองและย่านการค้า (U1) เป็นแหล่งชุมชนหนาแน่น และแหล่งการค้าของ
                       ตัวอําเภอต่าง ๆ มีเนื้อที่ 29,763 ไร่ หรือร้อยละ 0.37 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยอําเภอเมือง
                       ชัยภูมิ อําเภอบ้านเขว้า อําเภอคอนสวรรค์ อําเภอเกษตรสมบูรณ์ อําเภอหนองบัวแดง อําเภอจัตุรัส
                       อําเภอบําเหน็จณรงค์ อําเภอหนองบัวระเหว อําเภอเทพสถิต อําเภอภูเขียว อําเภอบ้านแท่น อําเภอ

                       แก้งคร้อ อําเภอคอนสาร อําเภอภักดีชุมพล อําเภอเนินสง่า และอําเภอซับใหญ่
                                  2) หมู่บ้าน (U2) มีเนื้อที่ 238,407 ไร่ หรือร้อยละ 2.98 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วยหมู่บ้านจัดสรรร้าง มีเนื้อที่ 342 ไร่ และหมู่บ้านบนพื้นราบ มีเนื้อที่ 238,065 ไร่ ซึ่งเป็น

                       ที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปนอกจากตัวเมือง มักกระจายกันอยู่บนโคกเนินที่สูงที่แวดล้อมไปด้วยที่ลุ่มต่ํา
                       ที่ใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกและที่เก็บน้ํา ด้วยเหตุนี้รูปแบบชุมชนในจังหวัดชัยภูมิจึงมีลักษณะเป็นกระจุก
                       รวมกันอยู่อย่างหนาแน่น
                                  3) สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ (U3) มีเนื้อที่ 33,858 ไร่ หรือร้อยละ 0.42

                       ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยศูนย์ราชการ หน่วยงานของรัฐ วัด และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
                       นอกจากนี้ยังพบสถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ ร้าง มีเนื้อที่ 56 ไร่
                                  4) สถานีคมนาคม (U4) มีเนื้อที่ 3,330 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด มีระบบ
                       คมนาคมที่สําคัญ คือ สนามบิน มีเนื้อที่ 121 ไร่ และถนน มีเนื้อที่ 3,209 ไร่

                                  5) พื้นที่อุตสาหกรรม (U5) มีเนื้อที่ 23,459 ไร่ หรือร้อยละ 0.29 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ได้แก่ สถานประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ที่สามารถจําแนกขอบเขตได้ใน
                       มาตราส่วนของแผนที่ 1: 25,000 ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรมร้าง 141 ไร่ โรงงานอุตสาหกรรม
                       15,200 ไร่ ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในจังหวัด เป็นอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานในลักษณะการ

                       แปรรูปผลผลิต ทางด้านการเกษตรเบื้องต้น และส่งต่อไปยังโรงงานอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และ
                       จังหวัดอื่น ๆ โรงงานอุตสาหกรรมที่สําคัญ ได้แก่ โรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลัง โรงงานมันสําปะหลัง
                       อัดเม็ด โรงงานน้ําตาล โรงสีข้าว โรงงานผลิตเอทานอล โรงงานผลิตชิ้นไม้สับ นอกนั้นเป็นอุตสาหกรรม
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35