Page 19 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2565
P. 19
9
อําเภอภูผาม่าน และอําเภอหนองเรือ ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบนาข้าวในพื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 45,379 ไร่
หรือร้อยละ 0.67 ของเนื้อที่จังหวัด และนาร้าง มีเนื้อที่ 13,972 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของเนื้อที่
จังหวัด
2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 1,898,716 ไร่ หรือร้อยละ 27.91 ของเนื้อที่จังหวัด พืชไร่
ที่สําคัญ ได้แก่ อ้อย มันสําปะหลัง ไร่ร้าง และพืชไร่อื่น ๆ
(1) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 1,203,443 ไร่ หรือร้อยละ 17.69 ของเนื้อที่จังหวัด
อ้อยโรงงานถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากในจังหวัด พบที่อําเภอสีชมพู อําเภอ
กระนวน อําเภอน้ําพอง อําเภอหนองเรือ อําเภอชุมแพ อําเภอภูเวียง และอําเภอมัญจาคีรี ตามลําดับ
(2) มันสําปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 670,540 ไร่ หรือร้อยละ 9.86 ของเนื้อที่
จังหวัด พบมากที่อําเภอมัญจาคีรี อําเภอบ้านไผ่ อําเภอน้ําพอง อําเภอเขาสวนกวาง อําเภอเมือง
ขอนแก่น ตามลําดับ
(3) ไร่ร้าง (A200) คือพื้นที่ปลูกพืชไร่ที่ไม่มีการเพาะปลูกยาวนานติดต่อกัน
มีเนื้อที่ 17,583 ไร่ หรือร้อยละ 0.26 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่อําเภอเมืองขอนแก่น อําเภอชนบท
และอําเภอภูเวียง ตามลําดับ
(4) พืชไร่อื่น ๆ ได้แก่ พืชไร่ผสม ข้าวโพด ข้าวโพด+ถั่วเขียว ยาสูบ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
ถั่วลิสง ปอแก้ว ปอกระเจา ข้าวไร่ มันเทศ แตงโม ขิง มะเขือเทศ พริก มีเนื้อที่ 7,150 ไร่ หรือร้อยละ
0.10 ของเนื้อที่จังหวัด
3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 282,224 ไร่ หรือร้อยละ 4.14 ของเนื้อที่จังหวัด ไม้ยืนต้น
ที่สําคัญ ได้แก่ ยูคาลิปตัส ยางพารา สัก ไม้ยืนต้นผสม ปาล์มน้ํามัน ไม้ยืนต้นร้าง และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
(1) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 148,417 ไร่ หรือร้อยละ 2.18 ของเนื้อที่จังหวัด
พบปลูกมากที่อําเภอมัญจาคีรี ส่วนใหญ่เป็นแปลงปลูกของสวนป่ามัญจาคีรี อําเภอน้ําพอง และ
อําเภอเมืองขอนแก่น ตามลําดับ
(2) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 111,141 ไร่ หรือร้อยละ 1.63 ของเนื้อที่จังหวัด
พบปลูกมากที่อําเภอกระนวน อําเภอน้ําพอง และอําเภออุบลรัตน์ ตามลําดับ
(3) สัก (A305) มีเนื้อที่ 8,125 ไร่ หรือร้อยละ 0.12 ของเนื้อที่จังหวัด พบปลูก
มากที่อําเภอชุมแพ อําเภอสีชมพู และอําเภอภูผาม่าน ตามลําดับ
(4) ไม้ยืนต้นผสม (A301) มีเนื้อที่ 5,352 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด
พบปลูกมากที่อําเภอชุมแพ อําเภอบ้านไผ่ และอําเภอน้ําพอง ไม้ยืนต้น เช่น ยางนา สัก และพะยูง
ตามลําดับ โดยพบแปลงปลูกพะยูงที่อําเภอชุมแพ และอําเภอน้ําพอง
(5) ปาล์มน้ํามัน (A303) มีเนื้อที่ 3,948 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด
พบปลูกมากที่อําเภอสีชมพู อําเภอภูผาม่าน และอําเภอชุมแพ ตามลําดับ
(6) ไม้ยืนต้นร้าง (A300) มีเนื้อที่ 2,617 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด
(7) ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ได้แก่ สะเดา กระถิน ประดู่ กาแฟ หม่อน ไผ่ปลูกเพื่อการค้า
และตะกู มีเนื้อที่ 2,624 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่จังหวัด