Page 80 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 80

- 40 -


               5.5  การประเมินปริมาณคาร์บอนเหนือดินจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

                   ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ (1) ผลการแปลภาพถ่ายดาวเทียมเป็นข้อมูลดิจิทัล
               แสดงการใช้ที่ดินในพื้นที่ศึกษา และ (2) ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามกรอบ

               เวลาศึกษาจากพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด ที่มีการปลูกจริงในพื้นที่

               (ได้แก่ มันสำปะหลัง นาข้าว อ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน) จะใช้ประกอบการประเมินปริมาณก๊าซเรือน
               กระจกประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2) ที่มีการปลดปล่อยสู่บรรยากาศ ส่งผลต่อสภาวะอากาศและ

               ฤดูกาลของประเทศไทย
                   เนื้อหาในส่วนนี้จะแสดงทิศทางและแนวโน้มปริมาณคาร์บอนในดินจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

               ได้ผลลัพธ์ดังตารางที่ 5.5 สำหรับศักยภาพการดูดซับคาร์บอนเหนือดินจากป่าไม้และพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด

               ปรากฏผลตามรูปที่ 5.40–5.45 ภาพรวมปริมาณการดูดซับคาร์บอนจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
               พื้นที่ศึกษา มีแนวโน้มดังรูปที่ 5.46 และเมื่อทำการซ้อนทับข้อมูลตามระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

               (GIS) สามารถจัดทำแผนที่แสดงศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจก (Emissions Map) โดยป่าไม้และ
               พืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินพื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู

               แสดงดังรูปที่ 5.47–5.58


               ตารางที่ 5.5: ปริมาณการดูดซับคาร์บอนในดินจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับป่าไม้และ

                        พืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด ในพื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู แต่ละช่วงเวลา
                        (ตัน/เฮกตาร์/ปี)

                 ปี พ.ศ.   ป่าไม้   มันสำปะหลัง    ข้าว      อ้อย      ยางพารา    ปาล์มน้ำมัน    รวม

                  2529     1,659.20                                                              1,659.20
                  2530     1,530.82                                                              1,530.82
                  2535     1,328.45                                                              1,328.45
                  2540      923.71                                                                 923.71
                  2543      705.02                                                                 705.02
                  2548      444.99                                                                 444.99
                                                                   -6
                  2549      117.50       1,482.36   8.78      1.42x10          0           0     1,608.65
                  2551       57.66       1,509.31   9.71      1.49x10      117.31          0     1,694.00
                                                                   -6
                  2553       29.38        341.39    7.90      3.74x10     1,635.15       8.30    2,022.11
                                                                   -8
                                                                   -9
                  2556       35.90        573.18    8.51      9.34x10     1,470.91      27.27    2,115.78
                                                                   -7
                  2558       56.58        630.68    8.36      2.06x10     1,294.04      32.01    2,021.67
                  2560       35.90        465.37    8.48      5.51x10     1,541.30      32.01    2,083.06
                                                                   -7
                  2562       32.64        406.08    8.32      9.62x10     1,523.25      45.05    2,015.34
                                                                   -7
               ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2565)
               หมายเหตุ: ประมาณการทิศทางและแนวโน้มการกักเก็บคาร์บอนในดินจากพืชเกษตรจะมีความผันผวนและ

                       เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อได้เวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิต พืชเกษตรจะถูกจัดเก็บเพื่อการบริโภค

                       และการค้า ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บในดินและพืชผลจะถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85