Page 74 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 74

3-24





                                    (3) เฉลี่ย

                                         เกษตรกรได้ผลผลิต 868.78 กิโลกรัมต่อไร่ มีมูลค่าผลผลิต 6,567.98
                  บาทต่อไร่ ส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด 3,143.86 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                  ผันแปร 2,644.90 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 1,448.21 บาทต่อไร่ ผลตอบแทน

                  ต่อหน่วย 1.67 บาทต่อกิโลกรัม กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 3.04 บาทต่อกิโลกรัม ระดับผลผลิตคุ้มทุน 393.65

                  กิโลกรัมต่อไร่ และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.28
                    ตารางที่ 3-15 ผลตอบแทนการผลิตพืชเศรษฐกิจข้าวเจ้า ปีการเพาะปลูก 2564/65
                                                           พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพ
                              รายการ             หน่วย                                       เฉลี่ย
                                                             สูง (S1)      ปานกลาง (S2)
                    1. ปริมาณผลผลิต             กก./ไร่      980.34          582.61        868.78
                    2. ราคาผลผลิต              บาท/กก.         7.56            7.56          7.56
                    3. มูลค่าผลผลิต             บาท/ไร่     7,411.37        4,404.53      6,567.98
                    4. ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด    บาท/ไร่   3,624.99      1,909.66      3,143.86
                    5. ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร    บาท/ไร่   3,071.64      1,550.26      2,644.90
                    6. ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด    บาท/ไร่   1,800.24      543.66       1,448.21
                    7. ผลตอบแทนต่อหน่วย        บาท/กก.         1.84            0.93          1.67
                    8. กำไรส่วนเกินต่อหน่วย    บาท/กก.         3.13            2.66          3.04
                    9. ระดับผลผลิตคุ้มทุน       กก./ไร่      406.20          378.42        393.65
                    10. อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio)   1.32     1.14          1.28
                    ที่มา: จากการคำนวณ (2565) กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                  3.4 ข้าวเหนียว
                             1) สภาพการผลิต (ตารางที่ 3-16)
                                 (1) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)

                                  เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวพันธุ์กข 6 เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย
                  2.77 ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 84.62 และปักดำร้อยละ 15.38 อายุพืช
                  เฉลี่ย 3.97 เดือน โดยส่วนใหญ่เริ่มทำการผลิตเดือนมิถุนายนร้อยละ 46.15 รองลงมาคือ

                  เดือนพฤษภาคมร้อยละ 38.46 และเดือนกรกฎาคมร้อยละ 15.39 ตามลำดับ การเก็บเกี่ยวผลผลิต
                  ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายนร้อยละ 69.23 รองลงมาคือ เดือนตุลาคมร้อยละ 26.92
                  และเดือนธันวาคมร้อยละ 3.85 ตามลำดับ แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว
                  และเป็นการใช้น้ำฝนร่วมกับแหล่งน้ำอื่นร้อยละ 50.00 เท่ากัน แหล่งน้ำอื่นที่ใช้ร่วมกับน้ำฝน ได้แก่
                  ชลประทานร้อยละ 69.23 รองลงมาคือ  แหล่งน้ำสาธารณะร้อยละ 23.08 และสระน้ำในไร่นาร้อยละ 7.69

                                 (2) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพปานกลาง (S2)
                                  เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวพันธุ์กข 6 เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย
                  5.45 ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 62.07 และปักดำร้อยละ 37.93 อายุพืช

                  เฉลี่ย 4.00 เดือน โดยส่วนใหญ่เริ่มทำการผลิตเดือนกรกฎาคมร้อยละ 41.38 รองลงมาคือ
                  เดือนมิถุนายนร้อยละ 37.93 และเดือนพฤษภาคมร้อยละ 20.69 ตามลำดับ การเก็บเกี่ยวผลผลิต
                  ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายนร้อยละ 48.28 รองลงมาคือ เดือนตุลาคมร้อยละ 37.93
                  และเดือนธันวาคมร้อยละ 13.79 ตามลำดับ แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79