Page 51 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 51

บทที่ 3

                                                     ภาวะการผลิต



                             การศึกษาภาวะการผลิตพืชเศรษฐกิจข้าวนาปี เพื่อใช้วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                  ของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจข้าวนาปี ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน โดยทำการศึกษา
                  สภาพการผลิต การกระจายผลผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต ต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่า
                  ทางด้านเศรษฐกิจ มีรายละเอียดการศึกษา ดังนี้

                  3.1 ข้าวนาปี

                             1) สภาพการผลิต (ตารางที่ 3-1)
                                 (1) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)
                                  เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวร้อยละ 45.61 (พันธุ์กข 6) รองลงมาคือ

                  ข้าวหอมมะลิร้อยละ 42.11 (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ร้อยละ 22.81 และพันธุ์กข 15 ร้อยละ 19.30)
                  และข้าวเจ้าร้อยละ 12.28 (พันธุ์พิษณุโลก 2) เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 5.65
                  ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 75.44 และปักดำร้อยละ 24.56 อายุพืชเฉลี่ย

                  3.96 เดือน โดยส่วนใหญ่เริ่มทำการผลิตเดือนมิถุนายนร้อยละ 54.39 รองลงมาคือ เดือนพฤษภาคม
                  ร้อยละ 36.84 และเดือนกรกฎาคมร้อยละ 8.77 ตามลำดับ การเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่เก็บเกี่ยว
                  เดือนพฤศจิกายนร้อยละ 73.68 รองลงมาคือ เดือนตุลาคมร้อยละ 24.56 และเดือนธันวาคม
                  ร้อยละ 1.76 ตามลำดับ แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียวร้อยละ 43.86

                  และเป็นการใช้น้ำฝนร่วมกับแหล่งน้ำอื่นร้อยละ 56.14 แหล่งน้ำอื่นที่ใช้ร่วมกับน้ำฝนส่วนใหญ่คือ
                  ชลประทานร้อยละ 68.74 รองลงมาคือ แหล่งน้ำสาธารณะร้อยละ 21.88 และแหล่งน้ำธรรมชาติ
                  ร้อยละ 6.25 ตามลำดับ
                                 (2) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพปานกลาง (S2)

                                    เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิร้อยละ 64.37 (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
                  ร้อยละ 40.23 และพันธุ์กข 15 ร้อยละ 24.14) รองลงมาคือ ข้าวเหนียวร้อยละ 33.33 (พันธุ์กข 6)
                  และข้าวเจ้าร้อยละ 2.30 (พันธุ์พิษณุโลก 2) เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 8.85
                  ไร่ต่อครัวเรือน วิธีการปลูกใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 78.16 และปักดำร้อยละ 21.84 อายุพืชเฉลี่ย

                  3.99 เดือน โดยส่วนใหญ่เริ่มทำการผลิตเดือนพฤษภาคมร้อยละ 40.23 รองลงมาคือ เดือนมิถุนายน
                  ร้อยละ 36.78 และเดือนกรกฎาคมร้อยละ 20.69 ตามลำดับ การเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่เก็บเกี่ยว
                  เดือนพฤศจิกายนร้อยละ 52.87 รองลงมาคือ เดือนตุลาคมร้อยละ 18.39 และเดือนธันวาคม
                  ร้อยละ 14.95 ตามลำดับ แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียวร้อยละ 80.46

                  และเป็นการใช้น้ำฝนร่วมกับแหล่งน้ำอื่นร้อยละ 19.54 แหล่งน้ำอื่นที่ใช้ร่วมกับน้ำฝน ได้แก่ สระน้ำในไร่นา
                  ร้อยละ 64.71 รองลงมาคือ น้ำบาดาลร้อยละ 35.29 และแหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 5.88
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56